Friday, October 30, 2009

Thailand's Railways: Wrong Track





Written by Philip Bowring

FRIDAY, 23 OCTOBER 2009

It isn't just rail that's a problem

Recent chaos on Thai railways is symptomatic of much bigger problems which are holding the whole country back. Just at a time when the nation needs strong, well-directed public sector investment to offset weak external demand and a cautious private sector, the woes of the railways are showing just how difficult this can be.

The recent rail chaos, which saw many delays and thousands of passengers temporarily stranded, was the doing of the disgruntled workers of the State Railway of Thailand (SRT). Actions by them in the south of the country were as near as possible to a strike, which would be illegal. All this followed recent incidents of derailments and other technical problems largely attributable to the poor condition of the system, its track, rolling stock and signaling despite being in receipt of massive annual government subsidies.

One hundred years ago the railway was the pride of the nation. But little has been invested in it since then as the SRT has become law unto itself and the government has followed the US pattern of massive investment in roads and car manufacturing at the expense of public transport which have produced waste and traffic jams. The SRT meanwhile has become an overstaffed enterprise noted for featherbedding and corruption. Although Thailand's size is well suited to railways, the SRT has lost passengers not just to the roads but even to flying relatively short distances which should be ideal for city center to city center railways.

The workers' leaders have been flexing their muscles partly to warn against any attempts to privatize any parts of the SRT. Their opposition may yet further delay the opening of the railway to connect the (relatively) new Suvarnabhumi airport with Bangkok. It is now supposed to start operation on the King's birthday in December, but who manages the operation of the line still seems shrouded in doubt.

Meanwhile some observers also see a political hand in recent events. The union leaders have been strong supporters of the anti-Thaksin PAD movement headed by Sondhi Limthongkul, now leader of the recently founded "Yellow Shirt" party, the New Politics Party. The rail problems could embarrass the Democrat party, which will soon face a by-election in its traditional stronghold in the south. For the first time it will probably find itself competing with Sondhi's party, which is close to the state enterprise unions. The NPP's first leader was Somsak Kosaisuuk who heads the Federation of Government Owned Enterprise employees and leads the opposition to electricity privatization. Now the unions' aim is to stop any rail privatization.

It also seems the new party was created to provide some ongoing vehicle for Sondhi who, like his union leader friends, is not much liked by their military and monarchist allies in the anti-Thaksin movement, though the NPP claims "royalism" as its ideology.

But if this is politics as usual it also illustrates how difficult the mix of corruption and politicization of public sector projects can be. Thailand has thrived as an open, small-enterprise economy helped along by large foreign investment. But growth is now much more difficult than in the past, a past when China and India were not global players, a past before Vietnam began to compete, and when the Thai workforce was young and fast growing.

Now it badly needs investment, public and private, to raise productivity and shift to higher value added industries. It needs a modern railways system to connect to its neighbors and eventually to China and relieve pressure on its often clogged road system and maintain the advantage of its central geographic position and deep water port to maintain its regional leadership. Likewise it needs to shake up an educational system little exposed to global competition and running on 100-year-old models.

But public investment faces several obstacles in addition to entrenched interests of bureaucrats, the military and others with deep roots in the established order. One is a deeply ingrained aversion to spending money. This may be creditable in many countries but partly accounts for the fact that much money allocated in budgets is never spent. Fears under Thaksin that "irresponsible" spending on health benefits and handouts to the poor would lead to debt and decline added to natural caution.

Secondly, endless political infighting over where projects should be located, and infighting over contract spoils induces further delays.

The net result of all this is that recurrent government expenditure has been continuing to grow, most recently enhanced by anti-recession measures introduced by the Democrat-led government. But the capital spendingneeded for the future remains weak. Among other things it is reflected in the sharp fall in imports, which have declined faster than exports and given Thailand a large, and un-needed, current account surplus. Nor is there much danger of excessive public sector debt which is now about 40 percent of GDP.

For sure, it is reasonable to worry if more and more government revenue goes on recurrent spending, leaving only a declining surplus for investment. But from a fiscal standpoint the government is in a position to invest more. A recent Asian Development Bank report says the public sector "bears a heavy responsibility in reviving investment" but notes that "the mediocre record of public investment in recent years underlines the risk of relying on it too much".

Unfortunately given the current state of the political and bureaucratic system it is neither able to do so quickly and effectively, nor to step aside and enable the private sector to do more. In the case of the SRT the net cost of modernization should not be too high. It owns vast tracts of land, much of which could be sold. It also owns land adjacent to it current single track, so double tracking the system, or even converting it to standard gauge, is not too big a task to contemplate.

Thailand does have examples of large-scale public sector projects which have been both well executed and well run after completion. But it badly needs more of them if it is to improve the quality as well as the size of the economy. Reform and revitalization of the SRT is crucial both for the sake of the nation's transport industry, and as signal that government is still capable of delivering sensible projects in the interests of the public rather than padded for politicians.

(www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2113&Itemid=437)


Thailand : the future uncertain!!!



Thailand's Political Muddle

Written by JCK Lee

WEDNESDAY, 28 OCTOBER 2009

An ailing king, a feckless heir, political rivalries and conniving unions make the future uncertain

Thais were happy last week to see King Bhumibol Adulyadej out in the open after weeks on his sickbed. But the pictures of the thin, wan figure in a wheelchair were also a reminder of the uncertainties of Thailand without him.

That Thailand's politics are convoluted is hardly news but the twists and turns can still surprise. Take, for instance, another event earlier this month – former prime minister, retired General Chavalit Yongchaiyudh, announced he was joining the Pheu Thai (For Thais) Party, the successor to deposed prime minister and now fugitive Thaksin Shinawatra's outlawed Thai Rak Thai party. Other retired military types did the same. Chavalit earned a rebuke from his former colleague, ex-general, ex-prime minister Prem Tinsulanond, who now heads the Privy Council and is widely credited with leading the monarchist drive against Thaksin.

This could be dismissed as irrelevant. Chavalit and fellow retirees are yesterday's men and may be simply trying to find a way back into relevance. Nonetheless, it could also be seen as symptomatic of the fact that despite the apparent deep divisions in the country between the pro-Thaksin Reds and the anti-Thaksin Yellows there is still more than enough scope for opportunistic politics of the sort that brought about the current support for Prime Minister Abhisit Vejjajiva's Democrat Party from former Thaksin ally and rural power broker Newin Chidchob. Purchasing the support of Newin's northeast allies secured the government but added to general cynicism about politicians, not least those claiming to be cleaning up after the Thaksin era.

The Democrats now face a challenge from a different direction, Yellow Shirt leader Sondhi Limthongkul, the rabble-rouser behind the People's Alliance for Democracy (PAD) that led the charge against Thaksin, and his New Politics Party formed in July. The new party gives Sondhi a vehicle for his own continuing political involvement off the streets as well as, potentially, on. It may well draw more votes away from the Democrats than from other parties. Sondhi, a media baron, will continue to push his agenda through his newspapers, TV stations and websites.

The new party's* proximity to state enterprise unions is also a worry for a Democrat-led government. The party's first leader was Somsak Kosaisuk, who led the fight against privatization of the Electricity Generation Authority of Thailand and is viewed as behind recent labor problems at the State Railway of Thailand, a corrupt and over-manned entity that many in the government and bureaucracy would like to see at least partially privatized.

The monarchists need Sondhi, who proclaims monarchism as his party's ideology, but do not much like him. Abhisit makes a more credible leader than most of the alternatives but the Democrats could be hard-pressed on all sides when they face elections due in late 2011, assuming they take place on schedule.

Put this mess into the context of a possible royal succession and it is no surprise that no sensible person will provide a forecast of the future. A hundred and one different scenarios can be readily sketched.

In the more immediate future, there is the issue of what will happen to Thaksin's assets. Will they be seized or is it possible that there will be a deal to let him keep them so long as he stays out of the country and keeps his mouth shut? But can he just be an offshore businessman? It seems unlikely. But any kind of deal, such as the royal pardon sought by some Thaksin supporters, is also unlikely. Indeed he might fear for his own life if he did return home.

Monarchist fears of him and his supposed republican sentiments may be exaggerated but they are still very strong. Thaksin may be loathed by many, but he is likely to remain second only to the king in popularity. No other politician comes close. Even in absentia he is likely to be a shadow over Thai politics for years, just as Argentina's President Juan Peron was for decades after his overthrow and even after death.

Nor would the departure of Prem, now 89, likely make a difference. His probable successor is the like-minded retired General Surayud Chulanont, who served as prime minister after the military coup that removed Thaksin.

The problems for the monarchists and the army however go beyond the issue of Thaksin. Both of these institutions face storms. First, the death of King Bhumibol will be a huge blow. It is hard to measure how much loyalty is given to the king as an individual who has done much for the nation and how much to the institution of the monarchy as a keystone of Thailand. But it is clear that no one has the standing to fill the king's shoes.

As for the army, defending the monarchy against “republican threats” becomes another role. Its budget has been boosted by the Abhisit government but the raison d'être for a large military budget is none too obvious. Indeed, there are concerns that military desires to justify its existence lie behind contrived border spats with Cambodiaand stand in the way of any attempt to resolve the problems of a Muslim insurgency in the south by offering the provinces a degree of autonomy. In the short run the situation in the south may have improved slightly but the problem will linger.

But the army itself is not free of factions, nor are the courtiers who surround the monarchy. The monarchists need a credible monarch. Crown Prince Vajiralongkorn, who spends much of his time in Germany, and also may not be fully fit, may lack the popularity accorded to his father and sister Princess Maha Chakri Sirindhorn. But no one doubts his determination to succeed his father. Nor is there any obvious way, short of death, that he won't achieve that goal, however much some close to the palace might like to see Sirindhorn succeed or become Regent till the Crown Prince's male heir reaches maturity. He was anointed as heir back in 1972 when he was 20.

Will the successor need to do some political deals of his own to protect his back? And if so, which side will Thaksin be on?

Beyond the issue of Thaksin and the politics of patronage are real issues of income distribution and the metropolitan/rural divide. Income distribution may not have been getting any worse in recent years, but the media and the declining supply of cheap rural labor have all helped raise political awareness. Thaksin's populist policies, with handouts to farmers and cheap health care, were nothing very radical. Certainly they did not risk – as the pampered Bangkok middle class claims – massive wealth redistribution or a dangerous government debt burden.

In practice there has been little to choose between macro policies under Thaksin and those of his successors, both military and civilian. Abhisit has even expanded some Thaksin policies to try to win rural support at the next election.

But class tensions have increased and among the Red Shirts there are plenty of aspiring radicals who have been demonstrating against the Bangkok-elite system rather than in favor of Thaksin the man. The media may have become generally compliant, almost unanimously pro-establishment and hostile to Thaksin, but non-governmental organizations still flourish. Some critics still brave the lese majeste laws, and long prison terms or voluntary exile to foster anti-monarchy radicalism that is as yet more incipient than real but could develop into a threat if the prestige of the monarchy plummets and democratic aspirations are thwarted by the military.

On balance a muddle-through scenario looks more likely as ideological positions yield to the power of money and the cynicism of public and politicians alike. But any forecast may be foolish.

* Changed because of an editing error. We apologize.

(www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2121&Itemid=185)


Wednesday, October 21, 2009

มาตรฐานในการตัดสิทธิทางการเมือง


Mon, 2009-10-19 17:26

สมชาย ปรีชาศิลปกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำถามที่อยากชวนให้ช่วยกันขบคิด เฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง กกต.ถ้าให้คำตอบที่มีเหตุผลได้ก็จะเป็นประโยชน์แก่สังคมการเมืองไทยไม่น้อย รวมทั้งทำให้ผู้เขียนหายความคับข้องใจได้

ในท่ามกลางการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจากทางด้านรัฐสภา นายกรัฐมนตรีได้เชิญบรรดาบุคคลเป็นจำนวนมากให้มาร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าควรจะดำเนินการไปในลักษณะเช่นไรบ้าง การประชุมจัดขึ้นที่บ้านพิษณุโลกในช่วงเย็นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552 และเมื่อเย็นวันที่ 13 ตุลาคม 2552

บุคคลสำคัญที่ได้มาเข้าร่วมการประชุมนี้ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองจากพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาลที่ต้องใส่ใจก็คือมีหลายคนเป็นผู้ที่ได้เคยถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เพิกถอนสิทธิในทางการเมือง เช่น คุณเนวิน ชิดชอบ คุณสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และอีกหลายคนที่แม้จะไม่ได้มีสถานะเป็นผู้บริหารพรรคในทางนิตินัยก็ตาม

สื่อมวลชนรายงานข่าวไม่แตกต่างกันว่าเป็นการพบปะเลยประชุมร่วมกันของแกนนำของแต่ละพรรคการเมือง คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ดูเหมือนจะยอมรับความสำคัญของบุคคลเหล่านี้ในพรรคการเมืองต่างๆ เพราะไม่ได้มีการปฏิเสธเกิดขึ้นแต่อย่างใด ภายหลังการประชุมคุณอภิสิทธิ์ก็ยังได้ชี้แจงถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งตกลงกันระหว่างผู้ประชุม

ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากเป็นคำถามว่าในฐานะที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง บุคคลที่เข้าร่วมการประชุมกับคุณอภิสิทธิ์ในฐานะแกนนำหรือตัวแทนของพรรคการเมืองสามารถจะกระทำเช่นนั้นได้หรือไม่

การเพิกถอนสิทธินักการเมืองหรือที่เรียกกันว่าการตัดสิทธิทางการเมืองของนักการเมืองจำนวนมากด้วยคำวินิจฉันของศาลรัฐธรรมนูญ ได้นำมาซึ่งข้อถกเถียงว่าการตัดสิทธิทางการเมืองนั้นมีความหมายครอบคลุมกว้างขวางเพียงใด สำหรับการกระทำบางอย่างมีบทบัญญัติที่กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน เช่น เพิกถอนสิทธิในการลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นระยะเวลา 5 ปี ห้ามดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง

แต่การกระทำหลายอย่างก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะสามารถกระทำได้หรือไม่ หรือหากกระทำไปแล้วจะมีขอบเขตจำกัดเอาไว้ในลักษณะเช่นไร ดังการมีบทบาทในการช่วยผู้อื่นหาเสียงในการเลือกตั้งจะสามารถกระทำได้หรือไม่ หรือหากเป็นเพียงแค่การถ่ายรูปคู่กับผู้รับสมัครเลือกตั้งเท่านั้นโดยไม่มีการพูดอะไรแม้แต่สักคำเดียว

ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ได้กลายเป็นข้อถกเถียงในคราวเลือกตั้งครั้งล่าสุด และได้มีคำวินิจฉัยไว้อย่างน่าสนใจจากทาง กกต.ว่าการช่วยหาเสียงให้กับบุคคลผู้ลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญของกรรมการบริหารพรรคการเมือง ดังนั้น บุคคลที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองย่อมไม่สามารถทำหน้าที่ในลักษณะเช่นนี้ได้

ประเด็นสำคัญของการวินิจฉัยก็คือ การพิจารณาจากบทบาทที่เป็นจริงของบุคคลที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองว่ามีอยู่ในลักษณะเช่นไร หากทำหน้าที่ในแบบเดียวกับที่กรรมการบริหารพรรคกระทำก็ควรต้องถูกห้าม แม้จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองด้วยการระบุชื่ออยู่ในทะเบียนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม

เหตุผลแบบที่กล่าวมานี้ก็น่าจะรับฟังเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากไปมองแค่ชื่อในทะเบียนพรรคการเมืองเพียงอย่างเดียว เราก็อาจเห็นบรรดาผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองทั้งหลายเข้าไปยุ่มย่ามในพรรคการเมืองเต็มไปหมดแต่ไม่ปรากฏชื่อเป็นกรรมการบริหารของพรรค รวมถึงอาจไปชี้นิ้วสั่งซ้ายหันขวาหันในพรรคการเมืองได้

แต่พอมานึกถึงการประชุมระหว่างคุณอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีกับผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเพื่อคุยกันเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ชวนให้สงสัยเป็นอย่างยิ่ง

บุคคลต่างๆ เหล่านี้มาประชุมในฐานะแกนนำของพรรคการเมืองสถานะดังกล่าวเป็นที่ยอมรับและรับรู้กันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นหรือไม่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองก็ตาม การกำหนดแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นที่เข้าใจร่วมกันระหว่างพรรคการเมืองก็ย่อมต้องให้บุคคลที่มีพลังอยู่ในพรรคมาร่วมประชุม ส่วนหนึ่งก็คงต้องเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ปรากฏรายชื่อเป็นตัวหนังสือชัดเจนแต่อีกหลายคนซึ่งอาจใหญ่กว่าชื่อที่ถูกเขียนอย่างเป็นทางการก็ได้มาเข้าร่วมด้วย

เมื่อตกลงเป็นที่เข้าใจร่วมกันแล้ว ก็จะนำไปสู่ปฏิบัติการในทางการเมืองซึ่งแต่ละพรรคต่างก็ล้วนต้องปฏิบัติตามตามแนวทางที่ได้ตกลงกันเอาไว้

จะปฏิเสธหรือว่าการประชุมที่บ้านพิษณุโลกที่ร่วมด้วยบรรดาผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเพียงลูกกระจ๊อกปลายแถว เอาเข้าจริงนี่คือเจ้าของพรรคการเมืองตัวจริงเสียงจริงมากกว่าที่ถูกอุปโลกน์กันเสียอีก

ไม่แน่ใจว่าทาง กกต.จะมีคำอธิบายอย่างไรกับเหตุการณ์เหล่านี้ ดูเหมือนจะไม่มีความเห็นใดๆ ออกมาแม้แต่น้อย ทั้งที่การประชุมที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเรื่องแอบทำกันในห้องนอนเหมือนแอบมีเมียน้อย แต่โจ่งแจ้งและบอกกล่าวล่วงหน้ามาอย่างชัดเจน จึงมีความหมายไปอย่างอื่นไม่ได้นอกจากเดาว่าเพราะเห็นว่าการกระทำนี้ไม่ได้ขัดต่อข้อห้ามในเรื่องตัดสิทธิทางการเมือง

อันนี้เป็นปัญหาสำคัญที่ควรต้องตอบเพราะหากยึดเอาหลักการที่ กกต.วางเอาไว้ในการวินิจฉัยกรณีหาเสียงโดยผู้ตัดสิทธิทางการเมืองแล้ว บทบาทในการประชุมครั้งนี้โจ๋งครึ่มไม่น้อยไปกว่าการช่วยหาเสียงด้วยซ้ำ

คุณอภิสิทธิ์จะเชิญคุณเนวินมาร่วมประชุมในฐานะอะไรหรือ จะตอบว่าเป็นเพราะคิดถึงอ้อมกอดที่ทำให้ก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็คงยากจะเชื่อได้

ได้เคยมีข้อกล่าวหาแบบนี้เกิดขึ้นบางแล้ว แต่คำชี้แจงที่เคยเกิดขึ้นก็คือว่าข้อเท็จจริงแตกต่างกันดังนั้นผลของการวิจัยจึงมีความแตกต่าง จำเป็นต้องกล่าวไว้ล่วงหน้าเลยว่ากรณีที่กำลังกล่าวถึงนี้ผู้เขียนก็ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างการช่วยหาเสียงในการเลือกตั้งกับการร่วมประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ที่มาตรฐานในการวินิจฉัยการกระทำที่มีสาระในลักษณะเดียวกันว่าจะให้ผลอย่างไร

อยากรู้เหมือนกันว่าจะมีความเห็นอย่างไรเกิดขึ้นกับองค์กรที่ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในกรณีที่เกิดขึ้นกับฝ่ายที่ยืนตรงกันข้ามกับพรรคประชาธิปัตย์ จำได้ไหมครับว่าในคราวถกเถียงเรื่องการมีบทบาทช่วยในการหาเสียงของผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง มีการให้ความเห็นทั้งส่วนตัวและองค์กรเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาสอบสวนอย่างเป็นเรื่องเป็นราวอย่างรวดเร็ว

แต่กลับกรณีการประชุมในครั้งนี้ทำไมถึงได้เงียบสนิทราวกลับว่าไม่มีองค์กรนี้อยู่ในสังคมไทย

ในท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังไม่ยุติลง การทำหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและการยอมรับจากทุกฝ่ายเป็นเงื่อนไขหนึ่งจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการนำสังคมไทยกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่นำเอาความขัดแย้งทางการเมืองเข้าสู่การวินิจฉัยขององค์กรทางการเมืองได้

ขอให้เข้าใจว่าทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นกล่าวหาว่ามีการเลือกปฏิบัติหรือสองมาตรฐานเกิดขึ้น

แต่ต้องการตั้งคำถามถึงหลักการในการวินิจฉัยกรณีเรื่องตัดสิทธิทางการเมืองจะวางอยู่บนมาตรฐานอย่างไรต่างหาก

...............................
เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนรายวัน วันที่
19 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11545

ที่มา : http://www.prachatai.com/journal/2009/10/26262



′เสกสรรค์′ แนะ ′รัฐ′ เลิกลัทธิบูชาจีดีพี เหลียวดูความเป็นจริง


เสกสรรค์วิพากษ์ มาบตาพุด แนะ รัฐเลิกลัทธิบูชาจีดีพี เหลียวดูความเป็นจริง

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษา 14 ตุลา 2516 ขึ้นเวที ปาฐกถาครบรอบ 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 10 วิพากษ์สังคมไทยอย่างถึงแก่น และเฉียบคม ทั้งระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา สื่อ รวมถึงบทวิพากษ์ ว่าด้วย กรณี มาบตาพุด ประเด็นร้อน ที่สังคมกำลังให้ความสนใจ ใครอยากรู้ว่า เสกสรรค์ มองสังคมไทยวันนี้เช่นไร อ่านโดยพลัน .....

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม ที่ผ่านมา นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ อดีตผู้นำศึกษา เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 นักเขียนรางวัลศรีบูรพา (2546) ขึ้นปาฐกถาวาระครบรอบ 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 10 ในหัวข้อ "เศรษฐศาสตร์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง" (Economic Religion and the Production of Structural Ignorance) ไว้น่าสนใจ หลายประเด็น
ประชาชาติออนไลน์ นำเสนอเนื้อหาที่น่าสนใจ ดังนี้

อาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล วิพากษ์สังคมไทยผ่านปาฐกถาหัวข้อ "เศรษฐศาสตร์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง" ไว้ว่า ความแตกต่างระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์และลัทธิบูชาเศรษฐกิจ อยู่ที่ฝ่ายหลังมักจะขอยืมทฤษฎีหรือจินตภาพของฝ่ายแรกไปใช้ โดยมุ่งเอาประโยชน์ส่วนตน จนทำให้เกิดชุดความคิดที่คล้ายหรือเหมือนกันขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง ซึ่งหลุดออกจากความเป็นวิชาการ บ้างกลายเป็นวาทกรรมทางการเมือง บ้างกลายเป็นข้ออ้างทางสังคม ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์และการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นจุดหมายสูงสุดในการขับเคลื่อนทางสังคม โดยกำหนดให้ด้านอื่นๆ เป็นเพียงด้านรอง หรือกระทั่งถูกหักล้างได้อย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างในระดับนโยบายของรัฐ เช่น การลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติ มักจะมีความสำคัญมากกว่าการรักษาสิ่งแวดล้อม หรือการเพิ่มขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมมักถูกกำหนดคุณค่าไว้สูงกว่าการรักษาสภาพเดิมของชุมชนท้องถิ่น

ขณะเดียวกัน ลัทธิบูชาเศรษฐกิจก็ส่งผลกระทบต่อปัจเจกบุคคล เพราะกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่ยึดถือเศรษฐกิจเป็นศาสนา นำไปสู่การหมกมุ่นอยู่กับผลประโยชน์ทางวัตถุหรือรายได้ ทั้งยังลดทอนหรือกระทั่งยกเลิกคุณค่าอื่นๆ ของชีวิต เช่นมิตรภาพ น้ำใจ ความเมตตา กรุณา ตลอดจนความสงบสันติ นอกจากนี้ เมื่อถูกยึดถือกันเป็นจำนวนมาก ก็กลายเป็นลัทธิความเชื่อที่ไม่ต่างอะไรกับศาสนาบางนิกาย แสดงความก้าวร้าวรุนแรง ผ่านการจัดตั้งองค์กรเพื่อตอกย้ำแนวคิดของตน ผลิตวาทกรรมี่เชิดชูจุดหมายของตน อีกทั้งมีขบวนการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย ตลอดจนมีบทลงโทษผู้ที่เห็นต่าง ซึ่งทั้งหมดนั้นส่งผลต่อชีวทัศน์ของคนในสังคมอย่างหนักหน่วง เพราะมองโลกด้านที่เป็นผลประโยชน์ทางวัตถุเท่านั้น

อาจจะพูดได้ว่าโลกทัศน์ดังกล่าว เป็นการมองโลกและชีวิตผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งเป็นความมืดทึบทางปัญญา หากพูดภาษาธรรมก็คือ เป็นชีวิตที่ถูกดันโดยอวิชชา


ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา อวิชชาหรือความไม่รู้นั้น มีสาเหตุมาจากความหลงในอะไรสักอย่าง เป็นโมหะ หรือบางทีก็หลงใหลในทุกสิ่งทุกอย่างจนมองไม่เห็นความจริงของชีวิต

โดยอดีตผู้นำนักศึกษามองว่า อวิชชาไม่ได้เกิดจากความโง่เขลาของปัจเจกชน หากแต่เป็นผลผลิตเชิงโครงสร้าง ที่ถูกสร้างขึ้นและผลิตซ้ำโดยกระบวนการทางสังคม ซึมแทรกอยูในนโยบายหลักของรัฐ ผ่านระบบการศึกษาของรัฐที่เป็นการศึกษาแบบแยกส่วนตัดตอน ตลอดจนการโฆษณาสินค้าและบริการที่ท่วมทับระบบข่าวสารของสังคม

เพราะฉะนั้น ตัวอย่างของมาบตาพุด ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างการสร้างความมั่งคั่งทางวัตถุผ่านทิศทางพัฒนาอุตสาหกรรม กับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม การที่ชุมชนชาวมาบตาพุดและเครือข่ายภาคประชาชนไม่อาจทนกับสภาพที่ทรมานเช่นนี้ต่อไป นับเป็นการตื่นตัวครั้งสำคัญของสังคมไทย ที่เรียกร้องให้รัฐออกจากลัทธิบูชาเศรษฐกิจและนำประชาชนมาสู่ชีวิตที่สมดุลมากขึ้น

โดยอาจารย์เสกสรรค์ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ขณะที่ชาวบ้านที่เดือดร้อนเป็นบุคคลที่มีหน้าตาตัวตนเป็นรูปธรรม มีคนเจ็บและคนเสียชีวิตด้วยโรคร้ายนานาชนิดเป็นรูปธรรม แต่ฝ่ายรัฐและภาคธุรกิจกลับพูดถึงคุณค่าและปริมาณของเงินลงทุนแบบลอยๆ โดยไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าใครได้อะไรแค่ไหนจากเงินดังกล่าว จำนวนคนทำงานหนึ่งแสนคนก็เป็นมนุษย์นิรนาม ไม่รู้ว่าเป็นใคร และทำงานในเงื่อนไขอะไร งานเหล่านั้นสร้างชีวิตที่ดีให้พวกเขาหรือไม่ หรือยิ่งทำให้ชีวิตของพวกเขาเลวร้ายลง เพราฉะนั้น ในแง่หนึ่งเราจะเห็นได้ว่า ข้อขัดแย้งของมาบตาพุดเป็นข้อขัดแย้งระหว่าง Myth (มายาคติ) กับ Reality (ความเป็นจริง) และผมคงไม่ต้องตอกย้ำก็ได้ว่าการมองข้ามความทุกข์ร้อนที่เป็นรูปธรรมของผู้คนในนามของความดี ตัวเลขนามธรรม จริงๆ แล้วก็คืออวิชชา คือโมหะที่ครอบงำประเทศไทยมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1

ชาวบ้านมาบตาพุดไม่ใช่เหยื่อรายแรกของอวิชชานี้ ก่อนหน้านั้นมีชาวบ้านปากมูน ชาวอำเภอจะนะ บ่อนอก หินกรูด และคนยากคนจนในอีกหลายที่หลายแห่งซึ่งถูกกดดันให้สูญเสียวิถีชีวิตดั้งเดิม หรือเสียสละ เพื่อหลีกทางให้กับสิ่งที่เรียกกว่าการพัฒนา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มิได้หมายความว่าเศรษฐกิจไม่สำคัญ เพียงแต่ว่าทำอย่างไรให้มีความสมดุลระหว่างปัจจัยอันเป็นคุณต่างๆ ซึ่งมีทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ

ดังที่ศาสตราจารย์เยนเดร แมกโครสกี ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง The Secret Sins of Economics ซึ่งกล่าวว่าจุดอ่อนของเศรษฐศาสตร์อยู่ที่ไม่ค่อยได้ศึกษามนุษย์ตัวเป็นๆ ที่มีชีวิตจิตใจจริงๆ นักเศรษฐศาสตร์ไม่ค่อยอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับโลกที่ตัวเองพยายามอธิบาย เป็น Institutional Ignorance คือเป็นอวิชชาระดับสถาบัน

ในระยะเวลาเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา รัฐไทยได้ใช้อำนาจกำหนดความสำคัญทางการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้เป็นอันดับหนึ่ง โดยไม่สนใจถึงผลกระทบทางสังคมว่าจะสั่งสมไว้มากแค่ไหน ไม่สนใจว่าความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้จะถ่างกว้างออกไปเพียงใด การเสื่อมทรุดของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะหนักลงปานใด รัฐก็ยังคงยืนยันที่จะให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งอยู่ตลอดเวลา สภาพเช่นนี้ทำให้สังคมไทย ไม่สามารถก้าวพ้นความขัดแย้งเชิงโครงสร้างไปได้

ขณะที่การศึกษาซึ่งพอจะมีกำลังช่วยถ่วงดุลอวิชชาของลัทธิบูชาจีดีพีได้บ้าง แต่กลายเป็นว่าโครงสร้างและเนื้อหาของการศึกษาไทย เป็นการแยกมิติต่างๆ ของความจริงออกจากกัน แยกห้องเรียนออกจากโลกภายนอก แยกผลการเรียนออกจากเจตจำนงในการเรียนการศึกษาแบบแยกส่วน เน้นไปในทางแยกสาขามากกว่าบูรณาการองค์ความรู้ให้เข้าใจโลกและชีวิตโดยรวม สภาพเช่นนี้ทำให้การท่านรู้ทางปัญญาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก

ด้วยเหตุนี้สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่บ้าปริญญา เต็มไปด้วยผู้มีการศึกษาสูงที่โง่เขลา หลายคนอาจจะมีรายได้มาก หาเงินเก่ง แต่มีชีวิตที่เหลือเหมือนอนารยะชน เพราะฉะนั้นแทนที่จะให้แสงสว่างทางปัญญาแก่สังคม ระบบการศึกษาที่ตกเป็นอาณานิคมของลัทธิบูชาเศรษฐกิจกับกลายเป็นโครงสร้างที่ผลิตอวิชชาเสียเอง

ทั้งนี้ อาจารย์เสกสรรค์ ยังคงยืนยันว่า นักเศรษฐศาสตร์มีส่วนทำให้เกิดการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง เพียงแต่อาจจะไม่ได้เกิดจากอกุศลเจตนา หากเกิดจากความน่าเชื่อถือและถูกนำไปอ้างมากเกินไป โดยผู้คนที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่นนักธุรกิจและนักบริหารบ้านเมือง ความน่าเชื่อถือของวิชาเศรษฐศาสตร์นั้นเกิดจากหลายปัจจัย แต่ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เป็นวิชาที่ยืนยันลักษณะ Value Free ไม่มีฉันทาคติหรืออคติในเรื่องคุณค่าและรสนิยม ไม่ตีเส้นแบ่งด้วยหลักการทั้งด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นจึงมีฐานะเป็นกลางไม่เข้าใครออกใคร พูดอีกแบบคือเศรษฐศาสตร์ทั้งที่เป็น self image และ public image เป็นการมองแบบภววิสัยโดยผ่านการคิดคำนวณเป็นสำคัญ กระทั่งเป็นสาขาสังคมศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์มากที่สุด

โดยอดีตผู้นำนักศึกษา เพิ่มเติมว่า นักเศรษฐศาสตร์ควรใช้บทบาทของตนเองในการช่วยถอนอุปาทานเรื่องลัทธิบูชาจีดีพี ซึ่งควรจะเพิ่มคุณค่าของชีวิตจริงเข้าไปมากกว่าคุณค่าด้านตัวเลข เพราะแม้แต่วิชาโหราศาสตร์ซึ่งใช้คณิตศาสตร์มากเช่นกันท้ายที่สุดก็ยังต้องนำปัญหารูปธรรมของเจ้าของดวงมาพิจารณาร่วม ทั้งควรตรวจสอบสมมติฐานที่ใช้ให้มากขึ้น เช่น คำว่า ผลประโยชน์แห่งชาติเพราะคำนี้ส่วนรวมหมายถึงอะไรก้อนเดียวหรือหมายถึงกลุ่มผลประโยชน์แสนล้านกลุ่มที่ขัดกันอยู่ นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ควรจะถือเป็นหน้าที่ของตนที่จะออกมาท้วงติงหรือตอบโต้พวก Economic fundamentalism ซึ่งเอาหลักวิชาไปใช้เพื่อประโยชน์ขอตน

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

---------------------

ปาฐกถาฉบับสมบูรณ์

ปาฐกถา เสกสรรค์ ประเสริฐกุล: เศรษฐศาสตร์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

Tue, 2009-10-20 08:46

ความแตกต่างระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์และลัทธิบูชาเศรษฐกิจ อยู่ที่ฝ่ายหลังมักจะของยืมทฤษฎีหรือจินตภาพของฝ่ายแรกไปใช้อย่างสามานย์ ทำให้เกิดชุดความคดที่คล้ายกันหรือเหมือนกันขึ้นมาอีกชุดหนึ่งซึ่งหลุดออกจากความเป็นวิชาการ กลายเป็นวาทกรรมทางการเมืองบ้าง เป็นข้ออ้างทางสังคมบ้าง สุดแท้แต่ว่าจะนำไปใช้ในบริบทใด”.......

ปาฐกถา 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำเดือนตุลาคม โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หัวข้อ เศรษฐศาสตร์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง (Economic Religion and the Production of Structural Ignorance) ที่ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันจันทร์ที่ 19 ต.ค. 2552

ก่อนอื่นผมต้องของชี้แจงสักนิดว่าเรื่องที่จะคุยกันในวันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ผมเพียงแต่พยายามรวบรวมแง่คิด มุมมองต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในสังคมมาเรียบเรียงให้ชัดขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อแสดงจุดยืนและทัศนะที่ผมเห็นด้วย

อย่างไรก็ดีพูดให้ถึงที่สุดแล้วเรื่องที่ผมตั้งใจจะพูดก็ไม่ได้ผิดไปจากหัวข้อ เพียงแต่ต้องการชี้แจงล่วงหน้าว่าผมไม่มีความรู้พอที่จะมาวิจารณ์วิชาเศรษฐศาสตร์ อีกทั้งขอจำแนกความแตกต่างระหว่างเศรษฐศาสตร์ในฐานะสาขาวิชา กับเศรษฐศาสตร์ที่ผมใช้เป็นชื่อหัวข้อในการปาฐกถา คำหลังนี้พูดอีกแบบหนึ่งใช้คำว่า ลัทธิบูชาเศรษฐกิจ หรือลัทธิบูชา จีดีพี

ความแตกต่างระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์และลัทธิบูชาเศรษฐกิจ อยู่ที่ฝ่ายหลังมักจะของยืมทฤษฎีหรือจินตภาพของฝ่ายแรกไปใช้อย่างสามานย์ ทำให้เกิดชุดความคดที่คล้ายกันหรือเหมือนกันขึ้นมาอีกชุดหนึ่งซึ่งหลุดออกจากความเป็นวิชาการ กลายเป็นวาทกรรมทางการเมืองบ้าง เป็นข้ออ้างทางสังคมบ้าง สุดแท้แต่ว่าจะนำไปใช้ในบริบทใด

พูดให้ชัดเจนขึ้นก็คือว่า ลัทธิบูชาเศรษฐกิจหมายถึงลัทธิที่ยึดถือการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นจุดหมายสูงสุดในการขับเคลื่อนทางสังคมและกิจกรรมโดยกำหนดให้ด้านอื่นๆ เป็นเพียงด้านรองกระทั่งถูกหักลางได้อย่างสิ้นเชิงเพื่อสนองจุดหมายนี้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นในระดับนโยบายของรัฐ การลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติ มักจะมีลำดับความสำคัญสูงกว่าการรักษาสิ่งแวดล้อม หรือการขยายตัวเพิ่มขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมมักถูกกำหนดคุณค่าไว้สูงกว่าการรักษาสภาพเดิมของชุมชนท้องถิ่น เช่นนี้เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน ในระดับปัจเจกบุคคล การยึดถือเศรษฐกิจเป็นศาสนา ก็มักนำไปสู่การหมกมุ่นอยู่กับผลประโยชน์ทางวัตถุหรือรายได้ที่เป็นเงิน ในระดับที่ลดทอนหรือยกเลิกคุณค่าอื่นๆ ของชีวิต เช่นมิตรภาพ น้ำใจ ความเมตตา กรุณา ตลาดจนความสงบสันติ พูดโดยรวมแล้วลัทธิบูชาเศรษฐกิจ แท้จริงแล้วก็ไม่ได้มีพื้นฐานมาจากการมองโลกโดยภาวะวิสัย หรือObjective Thinking เท่าใดนัก หรือไม่ได้มาจากกระบวนการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่เป็นความเชื่อทางอัตวิสัย เป็น Subjective Thinking แบบหนึ่ง ที่งอกมาจากความปรารถนาของคนบางกลุ่มเท่านั้นเอง แต่เมื่อถูกยึดถือกันเป็นจำนวนมากก็กลายเป็นลัทธิความเชื่อที่ไม่ต่างอะไรกับศาสนาบางนิกาย อีกทั้งยังเป็นศาสนาที่ก้าวร้าวรุนแรงยิ่ง มีการจัดตั้งองค์กรเพื่อตอกย้ำแนวคิดของตน มีการผลิตวาทกรรมี่เชิดชูจุดหมายของตน อีกทั้งมีขบวนการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายของตน ตลอดจนมีบทลงโทษลงทัณฑ์ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือขัดขวางแนวคิดของตน เช่นนี้แล้วลัทธิบูชาเศรษฐกิจจึงส่งผลต่อโลกทัศน์ ชีวทัศน์ของคนในสังคมอย่างหนักหน่วง ทำให้มีการมองโลกเพียงด้านเดียว คือด้านที่เป็นผลประโยชน์ทางวัตถุเท่านั้น

นี่ต่างกับวัตถุวิสัยทางปรัชญา ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง หากผลประโยชน์ในการทำความเข้าใจมิติของชีวิตและจักรวาล

ผมคงไม่ต้องเอ่ยก็ได้ว่าความหมกมุ่นถึงผลประโยชน์ทางวัตถุนั้น ได้ลดทอนความสงบทาจิตใจลงไปขนาดไหน ความอยากมีอยากเป็นอย่างไร้ขอบเขตทำให้บุคคลต้องทะเลาะกับตัวเองกับผู้อื่น และทะเลาะกับธรรมชาติ ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่สอดคล้องกับจุดหมายในการสร้างชีวิตและสังคมที่สงบสุข

ก็อาจจะพูดได้ว่าโลกทัศน์ดังกล่าวเป็นการมองโลกและชีวิตผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งเป็นความมืดทึบทางปัญญา หากพูดภาษาธรรมก็คือว่า เป็นชีวิตที่ถูกดันโดยอวิชชา หรือ Ignorance

ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา อวิชชาหรือความไม่รู้นั้นมีสาเหตุมาจากความหลงในอะไรสักอย่าง เป็นโมหะ หรือบางทีก็หลงใหลในทุกสิ่งทุกอย่างจนมองไม่เห็นความจริงของชีวิต ตามที่พระท่านสอนคืออวิชชา 4 กับอวิชชา 8

ข้อแรก หมายถึง ว่าไม่รู้อริยสัจ 4 ประการอันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ส่วนข้อหลังนั้นเพิ่มไปอีก 4 ประการไม่รู้อดีต ไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต แน่นอนผมตระหนักดีว่านี่อาจจะไม่ใช่เวลาลงลึกถึงระดับโลกุตรธรรม

แต่ก็อดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่าในระบบเศรษฐกิจแบบบริโภคนิยมที่เน้นแต่ด้านของการเติบโตทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ต่างก็หลุดไปจากรากเหล้าทางวัฒนธรรมอีกทั้งปรุงแต่งสินค้าซึ่งถูกนำมาปรุงแต่งชีวิตและกามารมณ์ โดยไม่สนใจว่าผมประทบระยะยาวจะออกมาเช่นใด นี่เราอาจเรียกได้ว่า นี่เป็นอวิชชาที่ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคตเป็นการหมุนวนอยู่กับวงจรทุกข์อย่างหาทางออกไม่ได้

วรรคแรกของปฏิจสมุปบาทนั้นกล่าวว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อันนี้แปลว่าเพราะมีความโง่เหลาเป็นเครื่องมือ ผู้คนจึงก่อกรรมขึ้นมา ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการจะหลุดพ้นจากวงวัฎของกรรมเวร หรือพ้นทุกข์ย่อมเป็นเรื่องทำไม่ง่าย หากไม่มีการดับอวิชชาเสียก่อน

ผมอยากจำกัดการสนทนาไว้ที่เรื่องความทุกข์ร้อนทางสังคม เพราะฉะนั้นคำว่าอวิชชาที่นำมาใช้ เป็นการใช้ในความหมายกว้างๆ เป็นการมองชีวิตแค่ด้านเดียว หรือมองโลกคลาดจากความจริง

ในความเห็นของผม อวิชชาดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญาของปัจเจกชน มากเท่ากับการถูกผลิตขึ้นอย่างจงใจโดยโครงสร้างหลักๆ ของสังคม ที่สำคัญคือมันถูกผลิตขึ้นด้วยนโยบายหลักของรัฐ โดยระบบการศึกษาของรัฐที่เป็นการศึกษาแบบแยกส่วนตัดตอน ตลอดจนการโฆษณาสินค้าและบริการที่ท่วมทับระบบข่าวสารของสังคม จนเหลือพื้นที่ให้ทางเลือกอื่นๆ น้อยเต็มที่

กล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือว่า อวิชชาหรือความโง่เขลาในประเทศนี้ เป็นผลผลิตเชิงโครงสร้าง เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นและผลิตซ้ำโดยกระบวนการทางสังคม ไม่ใช่ปัญหาพันธุกรรม หรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐ ผมคงไม่ต้องพูดอะไรมาก เพราะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมามากแล้ว ผมจากการพัฒนาประเทศที่ไม่สมดุล ทำให้ประเทศของเราตกอยู่ในภาวะ 1 รัฐ 2 สังคม รวยสุดขั้ว จนสุดขีด จนกะทั่งกลายเป็นปัญหาการเมืองทีแก้ไม่ตก เมื่อมวลชนแยกกันฝากความหวังไว้กับชนชั้นนำต่างกลุ่ม ซึ่งขัดแย้งกันเรื่องพื้นที่อำนาจ ผมไม่คิดว่าใครจะแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองแบบนี้ได้ ถ้าไม่นำปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมาพิจารณาควบคู่กันไปด้วย อย่างไรก็ตามประเด็นที่สะท้อนลักษณะอวิชชาในนโยบายของรัฐก็คือ แทบจะไม่มีการสรุปบทเรียนอะไรอย่างมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความผิดพลาดในนโยบายการพัฒนาประเทศ มิหนำซ้ำยังย้ายอุปาทานเรื่องการพัฒนามาเป็นอุปาทานเรื่องตลาดเสรี กระทั่งผสมผสานมันเข้าหากันโดยยืนยันไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และ ฉบับ 2550

ในเมื่อรัฐเป็นฝ่ายยืนยันในมายากคติในเรื่องเหล่นี้เสียแล้ว ผู้ที่ถือลัทธิบูชาเศรษฐกิจหรือบูชาจีดีพี ก็นับว่ามีทั้งมหาวิหารและคัมภีร์อ้างอิงอย่างพร้อมมูล เรียนตรงๆ ว่าผมเองก็ไม่เข้าใจว่าเมื่อผลของการพัฒนาเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นแห่งชาติหรือแบบไร้พรมแดน ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยสุด 20 เปอร์เซ็นต์ กับคนจนสุด 20 เปอร์เซ็นต์ ห่างกันถึง 13.2 เท่าและคนรวยสุด 10 เปอร์เซ็นต์เป็นเจ้าของทรัพย์สินมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ เทียบกับคนจนสุด 10 เปอร์เซ็นต์ได้ส่วนแบ่งแค่ 3.9 เปอร์เซ็นต์ แล้วเรายังยืนยันที่จะเดินหนทางนี้ต่อไปได้อย่างไร บางทีเรื่องมันอาจจะเป็นแบบที่ท่านอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตรได้ชี้ไว้ว่าความเหลื่อมล้ำไม่ใช่กระบวนการปกติ แต่เป็นสิ่งที่สังคมเลือก และก็คงมีแต่สังคมอวิชชาเท่านั้นที่เห็นว่าความเหลื่อมล้ำเป็นของจริง

เพราะฉะนั้นมันคงจะไม่ใช่เรื่องที่ปราศจากเหตุผล ที่ท่านอาจารย์ประเวศ วะสี เคยสรุปไว้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบที่เป็นอยู่นับเป็นกำแพงด้านหนึ่งที่กั้นขวางการเติบโตทางปัญญา ที่ท่านใช้คำว่าเป็นหลุมดำทางปัญญา นอกเหนือไปจากสังคมแนวดิ่ง อำนาจรัฐที่รวมศูนย์ และระบบการศึกษา

พูดถึงระบบการศึกษา อันที่จริงถ้าเรามีระบบการศึกษาที่สร้างพลังทางปัญญาได้สำเร็จ เราอาจจะช่วยถ่วงดุลอวิชชาของลัทธิบูชาจีดีพีได้บ้าง แต่ดังที่ผมกล่าวไว้แล้วในบางที่บางแห่ง โครงสร้างและเนื้อหาของการศึกษาไทย เป็นการศึกษาแบบแยกส่วน เน้นไปในทางแยกสาขามากกว่าบูรณาการองค์ความรู้ให้เข้าใจโลกและชีวิตโดยรวม กล่าวอีกแบบคือเราแยกมิติต่างๆ ของความจริงออกจากกัน แยกห้องเรียนออกจากโลกภายนอก แยกผลการเรียนออกจากเจตจำนงในการเรียน กระทั่งตัวสถาบันการศึกษาเองก็แยกห่างออกจากสังคม สภาพเช่นนี้ทำให้การท่านรู้ทางปัญญาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ดีแม้ ว่าการศึกษาแบบแยกส่วนจะมีที่มาจากปัจจัยหลายอย่างแต่ท้ายที่สุดตัวแปรที่กำหนดสภาพดังกล่าวมากที่สุด ก็คือตลาด พูดง่ายๆ คือการศึกษาเป็นกระบวนการผลิตตนเองของผู้ศึกษาเพื่อจะได้กลายเป็นสินค้าราคาแพงในตลาดแรงาน ทั้งนี้โดยไม่ต้องสนใจไยดีว่าในภาพที่ใหญ่กว่าแรงงานของตนจะถูกนำไปสนองวัตถุประสงค์ใด แม้แต่อาจารย์ที่สอนวิชาต่างๆ ก็อาจจะไม่ทันได้ไต่ถามว่าศาสตร์ที่มอบให้ลูกศิษย์นั้นเป็นศาสตร์แห่งการครอบงำและครอบครองหรือเป็นศาสตร์แห่งการเข้าใจและเข้าถึง

แน่นอน การผลิตตัวเองให้เป็นสินค้าที่มีราคาในท้องตลาดโดยผ่านการศึกษา กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้วก็เป็นกระบวนการผลิตตัวตนของปัจเจกบุคคลไปด้วย แต่ก็เป็นตัวตนในมุมแคบเต็มที อยู่ในระดับอหังการ์ ตัวกูของกูเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่บ้าปริญญา เต็มไปด้วยผู้มีการศึกษาสูงที่โง่เขลา หลายคนอาจจะมีรายได้มาก หาเงินเก่ง แต่มีชีวิตที่เหลือเหมือนอนารยะชน เพราะฉะนั้นแทนที่จะให้แสงสว่างทางปัญญาแก่สังคม ระบบการศึกษาที่ตกเป็นอาณานิคมของลัทธิบูชาเศรษฐกิจกับกลายเป็นโครงสร้างที่ผลิตอวิชชาเสียเอง

กล่าวสำหรับระบบการนำเสนอข่าวสารของสังคมซึ่งมีผลหล่อหลอมโกทัศน์ไม่น้อยไปกว่าระบบการศึกษา กระทั่งอาจจะมีพลังหนักหน่วงกว่า เราก็เห็นอยู่แล้วว่าสถานการณ์เป็นเช่นไร อาจจะพูดได้ว่า กระแสหลักของการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสังคมได้ถูกครอบงำโดยแรงจูงในทางธุรกิจไปแล้วอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการโฆษณาสินค้าและวิถีชีวิตแบบบริโภคนิยม หรือการเสนอข่าวเร้าใจให้เสพทั้งๆ ที่หลายเรื่องไม่ควรจะเป็นข่าว แม่กระทั่งการนำเสนอข่าวความเป้ฯไปในบ้านเมืองธรรมดาๆ ก็ต้องมีการปรุงรสเพื่อเพิ่มยอดชาย สภาพดังกล่าวนับว่าสวนทางกับสวนทางกับสังคมอุดมปัญญาในระดับประสานงา เป็นการผลิตอวิชชาในระดับโครงสร้างอีกชนิดหนึ่ง ผู้ผลิตสื่อไม่ว่าจะหวังดีสักเพียงใด ล้วนแล้วแต่ดิ้นไม่พ้นอิทธิพลของเงื่อนไขทางธุรกิจ จำเป็นต้องปรุงแต่งข่าวสารให้นำมาซึ่งกำไรสูงสุดของผู้ว่าจ้างซึ่งตนเองมีส่วนแบ่งอยู่ด้วย ลัทธิบูชาเศรษฐกิจจะไม่ปราณีกับคนที่ไม่ยอมร่วมมือ

ในสภาวะที่ระบบข่าวสารของสังคมเป็นเช่นนี้ ก็ชวนให้น่าสงสัยเหมือนกันว่า กลไกการทำงานของสิ่งทีเรียกตลาดเสรีจะเป็นเช่นไร

สมมติฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เห็นว่าในระบบตลาด มนุษย์เราจะตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล แท้จริงแล้วเป็นไปได้หรือไม่ การถูกพูดกรอกหูอยู่ทุกวันว่าผิวคล้ำเป็นปมด้อย หรือรักแร้ดำเป็นปัญหาใหญ่ของชีวิต จนต้องซื้อครีมยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้มาถูถาเป็นการจัดสินใจที่เต็มไปด้วยเหตุผลหรือไม่ แน่นอนวิถีชีวิตแบบบริโภคนิยมที่กระพือพัดอยู่ในสื่อโฆษณาต่างๆ ย่อมทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่พอใจชีวิตที่เป็นอยู่ เพราะสิ่งที่ยังไม่ได้บริโภคยังมีอีกมาเหลือเกิน

ด้วยเหตุนี้ความคิดที่ก่อรูปตามหลังมาก็คือ ตัวเองยังรวยไม่พอ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงอาจจะพออยู่พอกินมากแล้วก็ตาม ในความเห็นของผม แม้ว่าเราจะมีคนที่จนจริงๆ อยู่ในประเทศหลายล้านคนซึ่งจำเป็นจะต้องดิ้นรนหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องทุกรูปแบบ แต่คนเหล่านั้นไม่ได้สานต่อก่อกระแสอวิชชาเท่ากับสภาพจิตแบบกลัวไม่รวยของคนชั้นกลางที่ตกเป็นเหยื่อโฆษณาของสื่อต่างๆ ดังที่เราจะเห็นการเข้าหาไสยศาสตร์อย่างบ้าคลั่งของคนกลุ่มหลังซึ่งนำไปสู่การบิดเบือนศาสนธรรมอย่างไม่เคอะเขิน วัดวาอารามหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิหลายแห่งล้วนถูกดัดแปลงให้เป็นแหล่งพิธีกรรมขอลาภยศสรรเสริญ บางพวกตระเวนไหว้พระไหว้เจ้าทุกแห่งเพื่อจุดหมายที่ตรงกันข้ามกับพระธรรมคำสั่งสอน หลายคนไหว้กระทั่งหมูหมากาไก่ ท่อนไม้สากกะเบือ หรือสัตว์ชนิดไหนก็ได้ที่เกิดมาผิดปกติจาเพื่อนร่วมสายพันธุ์ ทั้งนี้ด้วยความปรารถนาเพียงหนึ่งเดียวคือ ขอให้รวยๆ

อันที่จริง การจะบอกว่าทั้งหมดนี้เป็นผลจากลัทธิเศรษฐกิจอย่างเดียวคงไม่ถูก เพราะในบางกรณีความมั่งคั่งอาจจะไม่เกี่ยวกับการบริโภคแต่ถูกมองเป็นจุดหมายสูงสุดโดยตัวของมันเอง ดื้อๆ ลอยๆ เหมือนกับที่นโยบายของรัฐเน้นเรื่องการเติบโตของจีดีพี

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้อ่านบทสัมภาษณ์บุรุษท่านหนึ่ง น่าสนใจมาก ท่านบอกว่าตัวเองได้เลี้ยงปี่เซี๊ยะไว้ทั้งหมด 3 คู่ โดยตั้งชื่อให้ เช่น ตัวหนึ่งชื่ออำนาจ ตัวหนึ่งชื่อบารมี ตัวหนึ่งชื่อพันล้านและอีกตัวหนึ่งชื่อหมื่นล้าน ปี่เซี๊ยะดังกล่าวมีคุณสมบัติหลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือส่งเสริมความมั่งคั่งร่ำรวย นำโชคลาภให้ไหลมาเทมา ท่านให้สัมภาษณ์ว่าปี่เซี๊ยะพวกนี้ต้องทำจากหยกหรือหินเพราะจะมีพลังในตัวเอง โดยจะต้องผ่านพิธีปลุกเสกเสียก่อน พอได้มาก็ต้องเอามาอาบน้ำ ตั้งชื่อ ขอให้เขาช่วยดูเงินดูทองให้เรา เลี้ยงเหมือนทามาก๊อต เอาน้ำตั้งให้เขากิน เวลากลางคืนนั่งดูทีวีก็เอาเขามาวางข้างๆ เรียกชื่อเขา ลูบเขา ขอให้เขาให้ลาภเรา ท่าเจ้าของบทสัมภาษณ์นี้ยังยืนยันด้วยว่าข้อห้ามสำหรับการเลี้ยงปี่เซี๊ยะนั้น คนที่เป็นเจ้าของจับได้คนเดียว หากให้คนอื่นจับเหมือนแบ่งโชคแบ่งลาภ ผมคงไม่ต้องออกความเห็นเพิ่มเติมอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพียงแต่ขอทำหมายเหตุเชิงอรรถนิดหน่อยว่า ปี่เซี๊ยะนั้น คือรูปแกะสลักขนาดเล็กที่มีส่วนผสมของผสมของสัตว์หลายชนิด ทั้งสัตว์ที่มีจริงและสัตว์ในจินตนาการ ส่วนทามาก็อตเป็นของเล่นเด็กญี่ปุ่น ส่วนผู้ให้สัมภาษณ์เรื่องทั้งหมดนี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ทุกวันนี้เราอาจพูได้ว่าการผลิตสื่อโฆษณาในแนวทางของลัทธิบูชาเศรษฐกิจกับโลกทัศน์ชีวิทัศน์ของผู้ผู้เสพสื่อได้ทักทอเป็นสายใยสำคัญจนไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กำหนดใคร และในระบบตลาดเสรี เมื่อมีการเรียกร้องต้องการในเรื่องความมั่งคั่งส่วนบุคคลมากขึ้นเรื่อยๆ หนังสือประเภทนำเสนอวิธีการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงถูกผลิตออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จนเหลือพื้นที่บริโภคของหนังสือประเภทอื่นๆ น้อยเต็มที

แน่นอนสำหรับสำนักพิมพ์และร้านหนังสือ มีแต่หนังสือที่ขายได้เท่านั้นจึงถือว่าเป็นหนังสือที่ดี ส่วนเนื้อหาสารถที่บรรจุไว้ในหน้ากระดาษอาจจะไม่สำคัญ ทั้งๆ ที่มันอาจจะถอนรกถอนโคนคุณค่าที่เหลือทั้งหมดของชีวิตเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่นหนังสือแปลเล่มหนึ่งที่น่าจะกำลังขายดีในประเทศไทย หลังจากข่ายดีมาแล้วในโลกตะวันตก หนังสือเล่มนี้มีชื่อในภาษาไทยว่ารวยได้ไม่ต้องเอาถ่าน โดยมีคำโปรยหน้าปกสำทับไว้ด้วยว่า นี่คือวิธีคิดทางการเงินแบบนอกกรอบที่ช่วยให้คนไม่เอาถ่านพลิกกลับมารวยล้ำหน้าคนที่ฉลาดและทำงานหนักกว่า เอาล่ะ บางทีชื่อหนังสือคำโปรยอาจะเป็นแค่กลยุทธ์ทางการค้า แต่พอพลิกอ่านข้างใน เราจะพบว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ เอาจริง กับเรื่องที่เขาเขียนมาก และหมายความตามชื่อเรื่องและคำโปรยจริงๆ ดังมีข้อความตอนหนึ่งเขียนว่า คนไม่เอาถ่านผู้มั่งคั่งล้วนมีเป้าหมายหลักในการครอบครองทรัพย์สินให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เป้าหมายของคุณในฐานะคนไม่เอาถ่านผู้มั่งคั่งมือใหม่ ก็คือซื้อหาทรัพย์สินชิ้นแรกมาซะ คุณไม่จำเป็นต้องมีเงินมากหรอกครับ อันที่จริงแล้ว คุณไม่ต้องใช่เงินตัวเองเลยก็ได้นอกจากนี้ก็มีข้อความบางอย่างเขียนไว้เกี่ยวกับชีวิตที่ดี

การมีชีวิตที่ดีเสียตั้งแต่ตอนนี้หมายถึงอะไร มันหมายถึงการสนุกกับสิ่งของทุกอย่างของคนที่มีฐานะมั่งคั่ง ไม่วาจะเป็นเสื้อผ้า รถยนต์ การท่องเที่ยว สิ่งของหรูหรา สิ่งของดีๆ ทั้งหลาย แต่ก็อย่างที่คุณรู้อยู่แล้ว ผมยังเชื่อว่าการเป็นคนไม่เอาถ่านผู้มั่งคั่ง คุณต้องมีเวลาอยู่ด้วย.ซึ่งเป็นของขวัญอันล้ำค่าที่คุณใช้ร่วมกับคนอื่น คนไม่เอาถ่านผู้มั่งคั่งใช้เวลากับครอบครัวอย่างจริงจัง พวกเขาอุทิศตัวให้กับชุมชน ให้เงินบริจาคองค์กรการกุศาล สนับสนุนสถาบันการศึกษาและศาสนาพวกเขาคือ เป็นผู้อุปถัมภ์องค์การวิทยาศาสตร์และศิลปะ พวกเขาช่วยคนอื่นตะเกียกตะกายออกจากความจน ผมจึงอยากเป็นคนไม่เอาถ่านผู้มั่งคั่งทางจิตวิญญาณด้วย

เช่นเดียวกับเรื่องปี่เซี๊ยะให้ลาภผมคงไม่ต้องออกความคิดเห็นเพิ่มเติม แต่จะว่าไปนับถึงวันนี้แนวคิดข้างต้นก็ไม่ใช่ของใหม่ แต่การที่มันถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างเข้มข้นในรูปแบบต่างๆ ก็ชวนให้คิดอยู่ไม่น้อยว่าว่าสังคมที่ถูกอบร่ำด้วยบรรยากาศเช่นนี้อย่างต่อเนื่องจะนำพาวิกฤตแบบไหนมาให้เราอีก

สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับหนังสือที่ผมยกมากก็คือว่ามันมีข่าวสารที่สำคัญว่าต้องรวมศูนย์ความมั่งคั่ง ไว้ในมือคนส่วนน้อยก่อนจากนั้นค่อนกระจายรายได้และความเจริญ ผมไม่ทราบว่าในระดับปัจเจกบุคคลมันเกิดขึ้นได้จริงหรือเปล่า เป็นไปได้แค่ไหนที่จะบวกรวมจิตวิญญาณที่โลภเร่งถึงขีดสุด เข้ากับจิตวิญญาณที่อุทิศตัวเพื่อผู้อื่น แต่อย่างน้อยผมทราบว่าแนวคิดที่คล้ายๆ กันนั้นเคยถูกโฆษณาโดยรัฐและนักวิชาการในประเทศไทยมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับแรกๆ และมันเป็นคำมั่นสัญญาที่ไม่เคยปรากฏเป็นจริง เพราะฉะนั้นการเอามายาคติดังกล่าวมาผลิตซ้ำอีก จึงไม่อาจเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากเป็นอวิชชา

จริงอยู่ลำพังความคิดอยากได้อยากมีเหล่านี้ หากไม่ละเมิดใครก็อาจอนุโลมได้ว่าเป็นแค่ความเชื่อส่วนตัว เป็นสิทธิเสรีภาพอย่างหนึ่งแม้จะไม่ค่อยสร้างสรรค์นักก็ตาม

แต่ความเป็นจริงมีอยู่ที่สถานการณ์ทางสังคมไม่ได้หยุดอยู่ที่ความคิดอันฟุ้งซ่านเท่านั้น หากแต่นำไปสู้ความเดือดร้อนอันเป็นรูปธรรมด้วย ทั้งคนที่ถูกทิ้งให้ยากจนสุดขีดและคนที่อยากรวยล้วนแล้วแต่มีโอกาสแต่ลื่นไถลไปสู่การสนองความต้องการของตนโดยไม่คำนึกถึงวิธีการ ดังจะเห็นได้จากตัวเลขสถิติอาชญากรรมต่าง ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานจากความอยากได้ทางวัตถุทั้งสิ้น

นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีปัญหาคอร์รัปชั่นอย่างหนักอีกด้วย จากรายงานล่าสุดของธนาคารโลก เราถูกจัดไว้ที่อันดับที่80 จาก 160 ประเทศ ทั้งนี้โดยมีการเรียงลำดับจากคอร์รัปชั่นน้อยสุด ไปสู่คอร์รัปชั่นมากสุด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเป็นคะแนนกับประเทศใกล้เคียงในเอเชียกันแล้ว ประเทศไทยได้เพียง 3.5จากคะแนนเต็ม 10 ขณะที่มาเลเซียได้ 5.1 ญี่ปุ่นได้ 7.3 และสิงคโปร์ได้ถึง 9.2

ท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ที่เกาะกินประเทศมาช้านาน กลายเป็นปัญหาการเมืองและเป็น ปัญหาประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน เราคงพูดไม่ได้ว่าปัญหาเหล่านี้ไม่เกี่ยวโลกทัศน์ทางด้านผลประโยชน์ ทุกคนมีผลประโยชน์ทั้งนั้น แต่มันเป็นผลประโยชน์ที่ออกนอกบรรทัดฐานไปไกลซึ่งสุดท้ายนกลับมาส่งผลร้ายต่อระบบเศรษฐกิจเอง ดังจะเห็นได้จากคำปรารภของท่านประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ไม่นานนี้ว่า

ได้รับทราบจากบรรดาผู้รับเหมาก่อสร้างว่ามีการกินหัวคิวของในโครงการต่างๆ ภายใต้งบประมาณไทยเข้มแข็งสูงถึง 20 -25 เปอร์เซ็นต์ ถือว่ามากเกินไปถ้าเพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่เป็นไร ถือว่าธรรมดาตามที่หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวได้คำนวณไว้หากมีการคิดค่าหัวคิวในอัตราร้อยละ 25 ตามโครงการไทยเข้มแข็ง เงินภาษีอากรของประชาชนที่รั่วไหลไปสู่กระเป๋าคนโกงจะมีปริมาณมากกว่า 3.5 แสนล้านบาท นี่ก็เป็นปัญหาที่เริ่มต้นด้วยความอยากรวย

แน่นอนว่าเราไม่สามารถโยนความผิดปกติเหล่านี้ไปให้วิชาเศรษฐศาสตร์ต้องรับผิดชอบ แต่ก็คงต้องยอมรับว่ามันเป็นสภาพที่ต่อเนื่องมาจากอวิชชาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเกิดจากลัทธิบูชาผลประโยชน์ของนักเศรษฐกิจ ทำให้คนจำนวนหนึ่งเข้าใจผิดคิดว่าที่ผ่านมากินหัวคิวแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ไม่มีใครว่าอะไร หากจะเพิ่มเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่น่าจะเป็นไรเช่นกัน เพราะถึงอย่างไรเงินทองที่ได้มาทั้งอาชญากรรมและการฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะถูกนำมาจับจ่ายใช้สอยบริโภคก็นับเป็นส่วนหนึ่งของจีดีพีอยู่แล้ว

เพราะฉะนั้น ในความเห็นของผม ปัจจัยมูลฐานที่สุดที่ก่อให้เกิดอวิชชาเชิงโครงสร้าง ก่อให้เกิดการมองโลกเพียงด้านเดียวซึ้งผิดจากความจริง ยังคงอยู่ที่นโยบายของรัฐ ซึ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่หยุดยั้ง ที่ผ่านมาในระยะเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ รัฐไทยได้ใช้อำนาจรวมศูนย์กำหนดความสำคัญทางการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้เป็นอันดับหนึ่ง มิไยว่าบาดแผลทางสังคมที่เกิดขึ้นจะสั่งสมไว้มากแค่ไหน มิไยว่าความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้จะถ่างกว้างออกไปเพียงใด การเสื่อมทรุดของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะหนักลงปานใด รัฐก็ยังคงยืนยันที่จะให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งอยู่ตลอดเวลา สภาพเช่นนี้ทำให้สังคมไทย ถึงอย่างไรก็หนีไม่พ้นความขัดแย้งเชิงโครงสร้างไปได้

ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ มาบตาพุด ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างการสร้างความมั่งคั่งทางวัตถุโดยผ่านทิศทางพัฒนาอุตสาหกรรม กับคุณภาพชีวิของผู้คนในสังคม การที่ชุมชนชาวมาบตาพุดและเครือข่ายภาคประชาชนไม่อาจฝืนทนกับสภาพที่ทรมานเช่นนี้ต่อไป นับเป็นการตื่นรู้ครั้งสำคัญของสังคมไทย ที่เรียกร้องต้องการให้รัฐไทยออกจากลัทธิบูชาเศรษฐกิจและนำมาประชาชนมาสู่ชีวิตที่สมดุลมากขึ้น

อย่างไรก็ดีสิ่งที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับกรณีนี้ก็คือ นับตั้งแต่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับโครงการอุตสาหกรรม 76 โครงการ ทั้งในพื้นที่มาบตาพุดและในพื้นที่ใกล้เคียง ปรากฏว่าทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนต่างก็ออกมาแสดงความวิตกกังวลว่าคำสั่งศาลดังกล่าวจะทำให้เกิดผลเสียทางด้านเศรษฐกิจ ผลทั้งนี้โดยมีชุดเหตุผลที่เราได้ยินได้ฟังกันมาจนคุ้นเคย คือหนึ่ง ต่างชาติจะไม่ลงทุนในประเทศไทย สอง จีดีพีจะลดลงเพราะเงินลงทุนหายไป สามถึงสี่แสนล้านบาท และสามผู้คนจะตกงานถึงหนึ่งแสนคน เพราะฉะนั้นโดยรวมแล้วประเทศไทยจะเสียหายมาก

ที่ผมบอกว่าน่าสนใจก็คือว่า ชุดเหตุผลเช่นนี้ได้ถูกนำมาใช้ทุกๆ ความขัดแย้งคล้ายๆ กัน เพราะฉะนั้นมันจึงมีลักษณะเป็นอุดมกหรือวาทกรรมทางการเมืองมากกว่าคำอธิบายสถานการณ์ที่เป็นจริง และลักษณะของอุดมการณ์ไม่ว่าของฝ่ายไหนก็ตาม กระบวนการใช้ตรรกะเหตุผลบางอย่าง เหตุผลทั้งหมดมักจะตั้งอยู่บนฐานความเชื่อบางอย่างที่ยกขึ้นหิ้งไว้ แล้วบอกว่าห้ามเถียง เช่นในกรณีนี้ การขยายตัวของอุตสาหกรรมคือผมประโยชน์ส่วนรวม จีดีพีคือดัชนีชี้วัดความเจริญรุ่งเรือง การมีงานทำเป็นสิ่งที่ดี อะไรทำนองนั้น

ในจุดนี้ผมอยากจะขอหมายเหตุไว้สักนิดว่า ถ้าพิจารณาโดยหลักธรรมแล้ว อุดมการณ์ทุกประเภทล้วนเป็นมิจฉาทิฐิ เพราะมันเกิดจากการจับความจริงบางส่วนมาขังไว้ในกรอบคิด จากนั้นก็ปรุงแต่งจนมองข้ามความจริงทีเป็นรูปธรรมที่คลี่คลายอยู่เบื้องหน้าในปัจจุบัน ท้ายที่สุดมุมมองแบบนี้ก็จะนำไปสู่การเข้าใจโลกอย่างผิดๆ กระทั่งหลุดไปจากความจริงอย่างสิ้นเชิง หรือทะเลาะความจริงอย่างเอาเป็นเอาตาย เพราะมีความคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของความจริงเสียเองพวก Fundamentalist ไม่ว่าซ้ายหรือขวา ไม่ว่าฝ่ายศาสนาหรือการเมือง ล้วนแล้วแต่มีมิจฉาทิฐิเช่นนี้

ในกรณีของมาบตาพุด สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกใจหายก็คือ ขณะที่ชาวบ้านที่เดือดร้อนเป็นบุคคลที่มีหน้าตาตัวตนอย่างแท้จริงเป็นรูปธรรม มีคนเจ็บและคนเสียชีวิตด้วยโรคร้ายนานาชนิดอย่างเป็นรูปธรรม ฝ่ายรัฐและภาคธุรกิจกลับพูดถึงคุณค่าและปริมาณของเงินลงทุนแบบลอยๆ โดยไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าใครได้อะไรแค่ไหนจากเงินดังกล่าว จำนวนคนทำงานหนึ่งแสนคนก็เป็นมนุษย์นิรนาม ไม่รู้ว่าเป็นใคร และทำงานในเงื่อนไขอะไร งานเหล่านั้นสร้างชีวิตที่ดีให้พวกเขาหรือไม่ หรือยิ่งทำให้ชีวิตของพวกเขาเลวลง กลายเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอีกชนิดหนึ่ง เพราฉะนั้น ในแง่หนึ่งเราจะเห็นได้ว่าข้อขัดแย้งของมาบตาพุดเป็นข้อขัดแย้งระหว่าง Myth (มายาคติ) กับ Reality (ความเป็นจริง) และผมคงไม่ต้องตอกย้ำก็ได้ว่าการมองข้ามความทุกข์ร้อนที่เป็นรูปธรรมของผู้คนในนามของความดี ตัวเลขนามธรรม จริงๆ แล้วก็คืออวิชชา นี่คือโมหะที่ครอบงำประเทศไทยมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1

ชาวบ้านมาบตาพุดไม่ใช่เหยื่อรายแรกของอวิชชานี้ ก่อนหน้านั้นมีชาวบ้านปากมูน ชาวอำเภอจะนะ บ่อนอก หินกรูด และคนยากคนจนในอีกหลายที่หลายแห่งซึ่งถูกกดดันให้สูญเสียวิถีชีวิตดั้งเดิม หรือเสียสละ เพื่อหลีกทางให้กับสิ่งที่เรียกกว่าการพัฒนา

แน่นอน กล่าวเช่นนี้แล้วไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจไม่สำคัญ เพียงแต่ว่าทำอย่างไร ความสำคัญนั้นจะไม่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างโดดๆ โดยเกาะเกี่ยวไม่ยึดโยงกับคุณค่าอื่นใดของความเป็นคน

พูดอีกแบบหนึ่งก็คือ เราไม่ควรจะต้องเลือกอย่างสุดขั้วระหว่างเอาเศรษฐกิจแล้วทิ้งทุกอย่างกับได้ทุกอย่างแล้วทิ้งเศรษฐกิจ แท้จริงแล้วประเด็นหลักมันอยู่ที่องศาของความเหมาะสม อยู่ที่ความสมดุลระหว่างปัจจัยอันเป็นคุณต่างๆ ซึ่งมีทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ ในความเห็นของผม กรณีมาบตาพุดนั้นควรจะต้องถูกมองในเชิงบวก ถือว่าเราโชคดีที่มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น ผมหมายถึงว่าในเมื่อกลตลาดเสรีไม่สามารถปรับสมดุลของตัวเอง ไม่สามารถแก้ไขจุดอ่อนข้อบกพร่องของตัวเองได้ กลไกของสังคมอื่นๆ ก็ต้องเข้ามาช่วยกันทำงาน ซึ่งในกรณีนี้หมายถึงการจัดตั้งรวมตัวกันเอาธุระของชาวบ้านและบทบาทของศาลปกครอง ตลอดจนการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม

ถ้าหากเราสามารถทำให้สภาพเหล่านี้กลายเป็นกระบวนการปกติธรรมดา ในระยะยาวแล้ว การผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้างก็จะทำได้น้อยลงกระทั่งทำไม่ได้ ที่ผ่านมาวาทกรรมขอลัทธิบูชาจีดีพี หรือพวก Fundamentalist ทางด้านเศรษฐกิจมักจะกล่าวอ้างว่าเศรษฐกิจดีคนก็มีงานทำ ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า มีงานทำ มีรายได้ก็จะมีความสุข แต่คำถามมีอยู่ว่าความจริงเป็นเช่นนั้นเสมอไปหรือไม่ งานและรายได้แบบที่เป็นอยู่คือความสุขเสมอไปหรือไม่ หรือว่าแท้จริงแล้วสำหรับคนจำนวนมากมหาศาลมันเป็นแค่ทางเลือกระหว่างอดตายกับการมชีวิตอยู่อย่างลำบากยากแค้นเท่านั้น

จากตัวเลขที่เรามีอยู่ ทุกวันนี้เรามีแรงงานในระบบไม่ถึงสิบล้านแต่มีแรงงานรับจ้างนอกระบบราว 23-24 ล้าน ดังนั้นคนกลุ่มใหญ่ที่ออกแรงสร้างจีดีพี แท้จริงแล้วกลับไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตามค่าแรงขั้นค่ำ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในเรื่องไหน การรวมตัวเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองก็ทำไม่ได้ ถึงเวลาถูกเลิกจ้างก็ไม่มีใครรู้ว่าชะตากรรมของพวกเขาจะเป็นเช่นไร

ยิ่งไปกว่านั้นเรายังต้องถามต่อไปอีกว่านอกเหนือไปจากการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมแล้ว การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เที่ยวไปหักล้างคุณค่าอื่นๆ ทางสังคมนั้นเป็นเรื่องที่คุ้มกันหรือไม่ แม้ว่าคุณค่าทางสังคมดังกล่าวอาจจะวัดเป็นตัวเลขหรือถูกตีราคาเป็นเงินไม่ได้ก็ตาม

ยกตัวอย่างเช่นเมื่อตอนต้นปีที่ผ่านมา พอประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รัฐก็ได้นำเงินมาแจกผู้ประกันตนคนละสองพันบาทเพื่อจับจ่ายใช้สอยในเรื่องใดก็ได้ เจตนารมณ์ของรัฐจึงให้เอาไปใช้สอย ไม่ใช่เก็บออม เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงไปทำข้อตกลงกับห้างร้านและองค์กรธุรกิจต่างๆ ซึ่งมีตั้งแต่ร้านขายฟาสต์ฟูด ไปจนถึงห้างใหญ่ๆ ห้างหรูๆ สถานบันเมิง โรงภาพยนตร์ โดยตกลงกันไว้ว่าให้ประชาชนสามารถนำสิ่งที่เรียกว่าเช็คช่วยชาติไปใช้แทนเงินสดได้ และให้บริษัทเหล่านั้นเพิ่มมูลค่าเช็ค ซึ่งเป็นจินตนาการเกี่ยวกับความได้เปรียบของลูกค้า อีกทั้งใช้เงินสดเป็นเงินทอนด้วย ผลที่ออกมาก็คือบรรดาห้างร้านต่างๆ พากันโหมโฆษราสินค้าของตนเป็นการใหญ่ พร้อมทั้งแข่งกันนำเสนอเพิ่มมูลค่าของเช็ค ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่าสินค้าที่โฆษณากันใหญ่โตมิใช่น้อยคือเครื่องสำอางยี่ห้อต่างประเทศ อาหารต่างประเทศ สถานบันเทิงตลอดจนสินค้าฟุ่มเฟือยระดับแบรนด์เนมอีกหลายอย่าง พูดกันสั้นๆ ก็คือกระตุ้นกระแสบริโภคนิยมให้เร้าใจถึงขีดสุดเพื่อจะได้เกิด Economic intercourse และไปถึง Economic orgasm พร้อมๆ กัน

อย่างไรก็ดี สภาพดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในนิยามคำว่า ชาติอยู่ด้วย ชาติคืออะไร แค่ซื้อเครื่องสำอางฝรั่งมาใช้เป็นการรักชาติแล้วหรือไม่ แน่นอนความสับสนในเรื่องนี้ทำให้คำว่าชาติเลอะเทอะมากขึ้น ที่ชัดเจนมีอย่างเดียวคือชาติดังกล่าวไม่ได้รวมชาวไร่ชาวนาและแรงงานนอกระบบซึ่งไม่ได้มีฐานะเป็นผู้ประกันตนและเป็นประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่ง

ข้อโต้แย้งก็คือการค้าและการจับจ่ายใช้สอยเป็นเรื่องดี ที่สุดแล้วก็จะก่อให้เกิดการจ้างงาน เม็ดเงินจะลงไปถึงรากหญ้า ทุกคนจะได้รับประโยชน์ แม้จะไม้ได้รับแจกเงินโดยตรงก็ตาม แต่เรียนตรงๆ ผมยังนึกไม่ออกเลยว่าการค้าและการจับจ่ายใช้สอยที่เกิดขึ้นครั้งนั้น จะแบ่งส่วนแบ่งให้คนยากคนจนทั่วประเทศคนละกี่บาทกี่สตางค์ ยกเว้นพวกสามล้อแดง ที่อาจจะได้เศษกระดาษและพลาสติกเพิ่มขึ้น

อันที่จริงประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี่ เป้าหมายหลักของการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้างโดยลัทธิบูชาเศรษฐกิจ ก็คือการก่อให้เกิดภาพลวงตาซึ่งผลประโยชน์ส่วนรวม หรือพูดอีกแบบหนึ่งคือ ภาพลวงตาเกี่ยวกับประโยชน์สุขของคนกลุ่มหนึ่ง มายาคติดังกล่าวเป็นการปลดอาวุธทางปัญญาของผู้คนในสังคม ทำให้เราแทบไม่มีกรอบคิดทางสังคมการเมืองและวัฒนธรรมใดๆ ที่จะไปถ่วงดุลการเติบโตทางเศรษฐกิจได้แม้แต่น้อย รัฐบาลและภาคธุรกิจอาจเพียงพูดลอยๆ ว่าส่วนรวมได้ประโยชน์เรื่องก็ต้องจบลงตรงนั้น อย่างไรก็ดีลึกๆ แล้วเราทุกคนทราบดีว่าหลักการที่ใช้ในการบริหารธุรกิจก็ดี หรือแผนการที่ถูกนำมากระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ดี กลับมีจุดเน้นอยู่ที่กำหรสูลงสุดและต้นทุนต่ำสุด ซึ่งบ่อยครั้งสวนทางกับประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่แทนที่จะบรรจบกันโดยอัตโนมัติ

ถามว่าเรื่องทั้งหมดนี้เป็นความรับผิดชอบของวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วยหรือไม่ ตอบประเด็นนี้ผมได้เรียนไว้แต่แรกแล้วว่าผมไม่มีความรู้พอที่จะวิจารณ์วิชาเศรษฐศาสตร์และผมจำแนกความแตกต่างระหว่างการยึดถือลัทธิบูชาเศรษฐกิจเป็นศาสนาประจำชาติ กับวิชาเศรษฐศาสตร์ในฐานะสาขาหนึ่งขององค์ความรู้

แต่ก็อีกนั้นแหละ พูดอย่างเกรงอกเกรงใจแล้วผมยังต้องยืนยันว่านักเศรษฐศาสตร์มีส่วน ทำให้การผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้างเกิดขึ้น เพียงแต่ว่ามันอาจจะไม่ได้เกิดจากอกุศลเจตนา หากเกิดจากการที่ท่านถูกเชื่อถือและถูกนำไปอ้างมากเกินไป โดยผู้คนที่ท่านควบคามไม่ได้ เช่นนักธุรกิจและนักบริหารบ้านเมือง ความน่าเชื่อถือของวิชาเศรษฐศาสตร์นั้นเกิดจากหลายปัจจัย แต่ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เป็นวิชาที่ยืนยันลักษณะ Value Free ไม่มีฉันทาคติหรืออคติในเรื่องคุณค่าและรสนิยม ไม่ตีเส้นแบ่งด้วยหลักการทั้งด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นจึงมีฐานะเป็นกลางไม่เข้าใครออกใคร พูดอีกแบบคือเศรษฐศาสตร์ทั้งที่เป็น self image และ public image เป็นการมองแบบภววิสัยโดยผ่านการคิดคำนวณเป็นสำคัญ กระทั่งเป็นสาขาสังคมศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์มากที่สุด

อย่างไรก็ดี ปัญหาใหญ่ที่สุดมันอยู่ตรงนี้แหละ ในเมื่อวิชาเศรษฐศาสตร์เปิดพื้นที่โล่งในทางคุณค่า ผู้ที่ขอยืมชุดความคิดของวิชานี้ไปใช้จึงสามารถใส่อะไรลงไปก็ได้ เช่น คำว่าผู้บริโภค ซึ่งฟังดูเป็นคำกลางๆ และมักจะถูกนำมาใช้มากในระยะหลังเพื่อกระตุ้นการซื้อการขายภายในประเทศหรือเพื่อชดเชยการถดถอยทางเศรษฐกิจ ตามความเข้าใจของผม หลักเศรษฐศาสตร์อาจจะไม่ได้บอกเลยว่าคุณควรจะบริโภคอะไร ด้วยวิธีไหน ที่สำคัญคือ บริโภคมากๆ แล้วจะกระตุ้นการผลิต ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานจากนั้นทุกคนก็ได้ประโยชน์

แต่สำหรับเราท่านซึ่งเป็นคนธรรมดา เป็นนักวิชาการในสาขาอื่น การที่ซาเล้งครอบครัวหนึ่งซื้อไข่ไก่สามฟองมาแบ่งกันกินในครอบครัวซึ่งมีสมาชิก 6 คน ย่อมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการที่เศรษฐีนีวัยสาวปลายๆ คนหนึ่งซื้อไข่ไก่โหลหนึ่งมาพอกหน้าทาสะโพก หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย อันนี้เนื่องจากมันมีเรื่องความไม่เป็นธรรมทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง ฉะนั้นเราก็อดเสียดายไข่ไก่แทนคนจนๆ ไม่ได้ แน่ละ เราสามารถยกตัวอย่างแบบนี้ได้อีกมายหมายหลายกรณี เพื่อยืนยันว่าการเติบโตของยอดขายหรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ได้หมายความถึงความเจริญทางสังคมเสมอไป

ผมไม่ทราบจริงๆ ว่าเป็นเพราะเศรษฐศาสตร์อาศัยคณิตศาสตร์มากไปหรือเปล่าจึงทำให้กระบวนการใช้ตรรกะเหตุผลส่วนใหญ่หนักไปทางเป็นแบบ Deduction แต่อย่างที่เราทราบกันดีว่าวิธีการให้เหตุผลแบบ deduction นั้นขึ้นกับสมมติฐานเป็นสำคัญ จากนั้นข้อสรุปที่ได้มาก็จะกลายเป็นสมมติฐานของข้อสรุปต่อๆ ไป อันที่จริงวิธีคิดแบบนี้มีประโยชน์ถ้าเราใช้พิจารณาสถานการณ์ที่ควบคุมตัวแปรได้ สถานการณ์ที่ค่อนข้างหยุดนิ่ง แต่ถ้านำมาใช้กับสถานการณ์ที่มีมิติหลากหลายและแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา อย่างสังคมมนุษย์ โอกาสที่สมมติฐานจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงก็เป็นไปได้สูง เมื่อผิดพลาดตั้งแต่สมติฐาน ข้อสรุปที่เหลือซึ่งได้มาจากกระบวนการ deduction ก็อาจะใช้ไม่ได้

พูดให้ชัดขึ้นก็คือว่า ในความเห็นของผม เศรษฐศาสตร์อาจจะอิงกับนิยามความเป็นจริงของสังคมมนุษย์ที่ตายตัวมากเกินไป ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะถูกนำไปแปรรูปให้เป็นศาสนาทางเศรษฐกิจ แทนที่จะถูกใช้ประโยชน์ในฐานะองค์ความรู้ทางวิชาการ

ตามความเห็นของผมการสร้างสมมติฐานเบื้องต้นนั้น น่าจะอาศัยวิธีการแบบ Induction จะดีกว่า คือหากฎเกณฑ์ทั่วไปจากความจริงที่เป็นรูปธรรม จากนั้นจะค้นพบนัยยะอะไรบ้างค่อยว่ากัน

แต่ก็ดังที่ศาสตราจารย์เยนเดร แมกโครสกี (Deirdre N. McCloskey) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง The Secret Sins of Economics ท่านกล่าวว่าจุดอ่อนของเศรษฐศาสตร์อยู่ที่ไม่ค่อยได้ศึกษามนุษย์ตัวเป็นๆ ที่มีชีวิตจิตใจจริงๆ นักเศรษฐศาสตร์ไม่ค่อยอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับโลกที่ตัวเองพยายามอธิบาย เป็น Institutional Ignorance คือเป็นอวิชชาระดับสถาบัน

แต่ก็อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ แม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม เศรษฐศาสตร์กลับชอบตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับความต้องการและความพอใจของมนุษย์ตลอดจนความมีเหตุมีผลของมนุษย์ในตลาดเสรีราวกับว่าไม่ต้องเถียงกันอีกแล้วในประเด็นเหล่านี้

สำหรับในกรณีของประเทศไทย ตัวอย่างที่สะท้อนภาพความเพียงพอของวิชาเศรษฐศาสตร์ได้ชัดเจน คือวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ดังที่ท่านคงจะจำได้ การเปิดเสรีทางการเงินในประเทศที่พัฒนามาอย่างไม่สมดุลและขาดทั้งธรรมาภิบาลและความโปร่งใสอย่างประเทศไทย ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การพังพินาศทางเศรษฐกิจในชั่วเวลาข้ามคืน สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งคือเงินกู้จากต่างประเทศถูกนำมาแบ่งปันกันระหว่างนักการเมืองและนักธุรกิจ เม็ดเงินจำนวนมากไม่ได้ถูกนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนอย่างแท้จริง หากแต่ถูกดูดซับไปเข้ากระเป๋าปัจเจกบุคคล ด้วยการปั่นหุ้น ปั่นราคาที่ดิน ตลอดจนปล่อยกู้อย่างไร้หลักการ การนั้นก็มีการนำไปใช้ในการบริโภคสิ่งต่างๆ ล้นเกินอย่างเหลือเชื่อ สุดท้ายเมื่อรัฐบาลถูกกดดันให้ปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว ต่างประเทศทวงหนี้คืน ทั้งประเทศก็ตกอยู่ในภาวะล้มละลาย

พอเกิดปัญหาขึ้นแล้ว การแทรกแซงของรัฐบาลไม่เพียงแต่จำเป็น หากยังกลายเป็นข้อเรียกร้องของสาธารณชน ความคิดเรื่องปล่อยให้กลไกตลาดเสรีแก้ปัญหาโดยตัวของมันเองหายไปโดยสิ้นเชิง ถามว่านี่เป็นความผิดของนักเศรษฐศาสตร์หรือเปล่า หลายท่านอาจจะคิดว่าไม่ใช่ เพราะว่าผู้คนไม่ได้ทำตามหลักเศรษฐศาสตร์ แต่ผมคิดว่านักเศรษฐศาสตร์อย่างน้อยก็พลาด เพราะท่านไม่ได้วางสมมติฐานเรื่องตลาดเสรีไว้บนพฤติกรรมมนุษย์ที่เป็นจริง ผมหมายถึงว่ามนุษย์บางจำพวกในประเทศไทย ซึ่งถือหลัก Rationalism (หลักความเชื่อในเหตุผล) เฉพาะในกรอบของผลประโยชน์เฉพาะหน้า และผลประโยชน์เฉพาะตัว ด้วยเหตุนี้การเปิดตลาดเสรีทางการเงินจึงไม่ได้นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองหรือความมั่งคั่งที่แท้จริง หากแต่เป็นการเปิดโอกาสให้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมซึ่งฉ้อฉล ฟุ้งเฟ้อที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ที่เขียนไว้เมื่อเร็วๆ นี้ว่าวิชาเศรษฐศาสตร์มีส่วนสร้างมายาคติขึ้นมาหลายเรื่อง จนทำให้สังคมหลงใหลได้ปลื้มไปกับภาพลวงตาบางอย่าง เพราะฉะนั้นจะบอกว่าไม่เกี่ยวกับวิกฤตไทยปี 2540 และวิกฤตโลกในปัจจุบันคงไม่ได้

แน่นอนว่าที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ใช่เรื่องซ้ำเติม และยิ่งไม่ใช่เรื่องที่ผมจะไปยกตนข่มท่าน ในฐานะที่ผมเป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ก็คงต้องสารภาพว่าพวกเราก็ไม่ได้ทำได้ดีกว่าท่านเท่าไหร่ ดูจากสภาพการเมืองที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ก็จะเห็นความอับจนทางปัญญาของเราอยู่ไม่น้อย

นักรัฐศาสตร์หลายคนก็เหมือนนักเศรษฐศาสตร์ที่ชอบออกแบบระบอบประชาธิปไตยที่งดงามมาก โดยมีข้อแม้อย่างเดียวว่าคนที่เข้าไปสู่เวทีอำนาจจะต้องเป็นคนดี แต่ตรรกะแห่งอำนาจเป็นความจริงอีกชุดหนึ่ง ทำให้คนดีไม่ค่อยได้เข้าใกล้อำนาจสักเท่าใด เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราออกแบบไว้พูดก็พูดได้เพียงว่ามันสวยงาม

อีกอย่างคือพวกเราชาวรัฐศาสตร์ มักจะอยากเห็นการเมืองดีโดยไม่ต้องต่อสู้กัน ซึ่งไม่ค่อยสอดคล้องกับความจริงของโลกสุดท้ายก็เลยได้แต่แสดงปาฐกถา หรือจัดอภิปรายไปวันๆ

กลับมาเรื่องเศรษฐศาสตร์ที่ผมตั้งเป็นหัวข้อในวันนี้หรือลัทธิบูชาเศรษฐกิจ ถึงตอนนี้ท่านทั้งหลายคงจะเห็นแล้วว่าการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้างเพื่อค้ำจุนลัทธินี้จะมากจะน้อยก็ล้วนขอยืมหลักคิดพื้นฐานไปจากวิชาเศรษฐศาสตร์ จากนั้นจึงปรุงแต่งเพิ่มเติมในพื้นที่ที่เศรษฐศาสตร์เปิดโล่งไว้ เช่น ส่งเสริมการบริโภคสรรพสิ่งได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงรสนิยมและคุณค่าทางวัฒนธรรมขอเพียงให้เพิ่มยอดขายและเพิ่มอัตราการเติบโตของจีดีพี ถลุงต้นทุนทางสังคมและทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อมอย่างไม่ยั้งเพราะมันเป็นต้นทุนที่เจ้าของกิจการไม่ต้องจ่าย แล้วทั้งหมดนี้อธิบายทุกอย่างว่าเป็นผลประโยชน์ส่วนร่วม ง่าย ๆและดื้อๆ

ถามว่าแล้ววิชาเศรษฐศาสตร์ของเราพ้นจากบาปกรรมได้อย่างไร ผมคิดว่าจริงแล้วนักเศรษฐศาสตร์นั่นแหละที่จะมีบทบาทมากกว่าใคร ในการช่วยถอนอุปาทานเรื่องลัทธิบูชาจีดีพี

ศาสตร์แขนงนี้ได้รับการเคารพนบนอบทั้งจากภาครัฐและภาคสังคมมากอยู่แล้ว ท่านควรใช้บารมีที่มีอยู่ช่วยผู้คนแก้ปัญหาทางปัญญา ประการแรก แม้ว่าท่านอาจจะยังต้องอยู่กับคณิตศาสตร์ต่อไป แต่ผมเห็นว่าควร จะเพิ่มคุณค่าจริงของชีวิตจริงเข้าไปในการหาขอสรุป อย่าลืมว่าแม้แต่วิชาโหราศาสตร์ซึ่งใช้คณิตศาสตร์มากเช่นกันท้ายที่สุดก็ยังต้องนำปัญหารูปธรรมของเจ้าของดวงมาพิจารณา

ประการที่สอง ผมคิดว่านักเศรษฐศาสตร์ควรตรวจสอบสมมติฐานที่ใช้ให้มากขึ้น เช่น คำว่า ผลประโยชน์แห่งชาติ คำนี้มีจริงหรือเปล่า ส่วนรวมหมายถึงอะไรก้อนเดียวหรือหมายถึงกลุ่มผลประโยชน์แสนล้านกลุ่มที่ขัดกันอยู่ การลงทุนของต่างชาติที่ว่าดีนั้นดีตรงไหน

ประการสุดท้าย นักเศรษฐศาสตร์ควรจะถือเป็นหน้าที่ของตนที่ควรจะออกมาท้วงติงหรือตอบโต้พวก Economic fundamentalism ซึ่งเอาหลักวิชาของท่านไปใช้อย่างสามานย์ บิดเบือนศาสตร์ของท่าน

อันที่จริงสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้อาจจะเป็นการเหมารวมไปสักหน่อย และอาจจะไม่ยุติธรรมแก่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย ที่เห็นอกเห็นใจผู้เสียเปรียบอยู่แล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องขออภัยด้วย

ผมทราบดีว่าทุกอย่างมีข้อยกเว้นและในทุกวงวิชาการทุกสาขาผู้คนต่างก็มีความคิดแตกต่างกันไป หากท่านเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่คิดอ่านในแนวนี้อยู่แล้ว ผมก็ขออนุโมทนาด้วย ส่วนท่านที่ยังเห็นต่างหรือเห็นว่าความเห็นของผมไม่ถูกต้องก็ต้องขออภัยด้วยเช่นกันที่ทำให้ท่านรู้สึกหงุดหงิดถูกล่วงเกิน ผมรบกวนเวลาของท่านทั้งหลายมามากแล้วก็ขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณารับฟัง

ที่มา : www.prachatai.com/journal/2009/10/26271