Friday, December 26, 2008

“ "อุบัติเหตุ” ในโครงสร้างที่ไม่เสมอภาค”



วันที่ 25 ธ้นวาคม พ.ศ. 2551

 

  "อุบัติเหตุ ในโครงสร้างที่ไม่เสมอภาค

โดย อรรถจักร สัตยานุรักษ์

แม้ว่าการเมืองวันนี้จะดูสงบขึ้นกว่าก่อนอยู่บ้าง แต่ความสงบทางการเมืองนี้เป็นเพียงเรื่องชั่วคราว หรือเป็นเพียงฉากเฉพาะหน้าซ่อนความไม่สงบอยู่เบื้องหลังที่รอวันปะทุขึ้นมา เพราะในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาทางการเมืองคือปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทุกๆ ด้านยังไม่ได้รับการพิจารณาให้แก้ไขแต่อย่างใด ความไม่เท่าเทียมกันนี้เป็นโครงสร้างที่พร้อมจะทำให้เกิด "สถานการณ์" หรือ "เหตุการณ์" อะไรก็ได้ที่อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่กลับก่อให้เกิดความไม่สงบที่รุนแรงขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย


นักประวัติศาสตร์มีชื่อเคยกล่าวไว้ว่าไม่มี "อุบัติเหตุ" ในประวัติศาสตร์ หมายความว่าแม้ว่าการจุดชนวนอาจจะดูไม่มีเหตุผลหรือไม่มีน้ำหนักมากพอ แต่กลับก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงนั้นก็เกิดขึ้น เพราะโครงสร้างที่พร้อมจะทำให้เกิดความรุนแรงอยู่แล้ว


การเมืองไทยที่ดูเหมือนจะสงบลงบ้างในวันนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่พร้อมจะทำให้เกิด "อุบัติเหตุ" ทางการเมืองได้ และหากเกิด "อุบัติเหตุ" ทางการเมืองขึ้นแล้วก็จะยุติได้ยากมากขึ้น


เราจะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสของการเกิด "อุบัติเหตุ" ในโครงสร้างที่พร้อมจะทำให้เกิดเช่นนี้


สังคมไทยต้องมองเห็นปัญหาความไม่เสมอภาคนี้ให้ชัดเจน แล้วช่วยกันกดดันให้รัฐบาลสร้างความหวังให้แก่ประชาชนว่าสังคมไทยกำลังเดินหน้าไปสู่การแก้ไขปัญหาโครงสร้าง เพื่อที่จะทำให้คนจำนวนมากในสังคมพอที่จะยอมรับผลกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์หนึ่งๆ ที่จะเกิดขึ้นมาโดยเห็นว่าพอจะทนกันต่อไปได้อีกสักหน่อย เพื่อที่จะได้แก้ไขโครงสร้างกัน หากทำเช่นนั้นได้ก็จะทำให้โอกาสของการเกิด "อุบัติเหตุ" ก็จะลดน้อยลง


ความไม่เสมอภาค นี้ สามารถพิจารณาได้สองด้าน ด้านแรก ได้แก่ ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้ทำให้เกิดความแตกต่างของรายได้อย่างมหาศาล การลดช่องว่างทางเศรษฐกิจนี้แก้ไม่ได้ด้วยนโยบายประชานิยม หากแต่จะต้องสร้างนโยบายที่ทำให้การสะสมทุนของคนรวยนั้นไม่สามารถส่งทอดต่อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างที่เป็นอยู่ โดยจะต้องวางนโยบายให้สังคมเห็นว่าคนรวยขึ้นมาได้จากเนื้อของสังคม และจะต้องคืนให้แก่สังคมมากที่สุด รูปธรรมที่ชัดเจน อาทิเช่น การเก็บภาษีมรดก การเก็บภาษีที่ดินที่เป็นสินค้าเก็งกำไร การกระจายการถือครองที่ดิน ฯลฯ


ความไม่เสมอภาคด้านที่สอง ได้แก่ ความไม่เสมอภาคทางการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจรรโลงความไม่เสมอภาคทางการเมืองไว้อย่างชัดเจน การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการเมืองจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง และจะต้องเป็นการแก้ไขเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้กว้างขวางที่สุด


ที่น่าแปลกใจ ก็คือ รัฐบาลนี้กลับพยายามกลบเกลื่อนปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ด้วยการซื้อเวลาตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาข้ออ่อนด้อยของรัฐธรรมนูญแทนการแก้ไข เพื่อยกร่างใหม่ ซึ่งการซื้อเวลาเช่นนี้กลับยิ่งทำให้สังคมรู้สึกว่ารัฐบาลไม่จริงใจในการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจของสังคมให้เหมาะสม อันเท่ากับกำลังสุมไฟ "อุบัติเหตุ" ให้แก่โครงสร้างที่พร้อมจะระเบิดอยู่แล้ว


ความไม่เสมอภาคทั้งสองด้านนี้กำลังทำให้เกิดความขัดแย้งลึกซึ้งขึ้นในสังคมไทย อันทำให้เกิดสภาวะของการเตรียมจะสงครามทางชนชั้นขึ้น คนจำนวนไม่น้อยไร้ความหวังที่จะประคับประคองสังคมไทยให้รอดพ้นสภาวะที่พร้อมจะเกิดสงครามเช่นนี้แล้ว และพร้อมที่จะยอมรับหากความเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้อง "นองเลือด" กล่าวได้ว่าความคิดเช่นนี้ ก็คือ ความคิดที่ "ทอดอาลัยตายอยาก" กับสถานการณ์เพราะไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี โดยหวังง่ายๆ เพียงว่าหากเกิดการ "นองเลือด" สักครั้งหนึ่งแล้วทุกอย่างก็จะดีขึ้น


หากสังคมไทย "ทอดอาลัยตายอยาก" กับการเมืองไทยมากขึ้น ปล่อยให้สถานการณ์เดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ จนถึงสภาวการณ์ที่รุนแรงในคราวนี้แล้ว ในคราวนี้รับรองได้ว่าสิ่งที่คิดว่าหากนองเลือดแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นนั้น จะไม่มีทางเกิดขึ้นจริง ความรุนแรงครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น จะสั่นคลอนทุกระบบของสังคมอย่างที่ไม่สามารถจะจินตนาการถึงการพังทลายของสังคมได้เลย


การปล่อยให้นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเสื้อแกนนำทั้งสองสี ควบคุมการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยโดยที่ทั้งสองฝ่ายผลักดันทุกอย่างให้เป็นไปตามเป้าหมายของฝ่ายตนเองเท่านั้น และพยายามดึงคนในสังคมเข้าไปเป็นฝ่ายตนเอง ยิ่งจะทำให้ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ สังคมไทยจะร่วมกันสร้าง "มติสาธารณะ" ที่เน้นการสร้างความเสมอภาคขึ้นในสังคมให้มีพลังในการกำกับความเปลี่ยนแปลงให้รอดพ้นจากโอกาสการเกิดความรุนแรงนี้ได้อย่างไร


วันนี้ สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงนานัปการ โดยที่ไม่มีความพร้อมทางด้านสังคมเลยแม้แต่น้อย เราอาจจะพบกับการจลาจลในขนาดที่ใหญ่เท่าๆ หรือมากกว่าจลาจลในประเทศกรีซ เราอาจจะพบกับสภาวะอนาธิปไตยที่ยาวนาน โดยที่เราทำอะไรไม่ได้เลยแม้แต่น้อย


คงต้องเน้นว่าวันนี้ อะไรก็เกิดได้ในสังคมไทย และอะไรที่จะเกิดขึ้นนั้นจะทำลายเราทั้งหมดด้วย


ผมอาจจะมองโลกในแง่ร้าย แต่อยากให้ท่านผู้อ่านทุกท่านช่วยกันคิดว่าปัญหาจริงๆ ของสังคมคืออะไร เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร และเรามีทางจะช่วยกันสร้าง "ความหวัง" ให้แก่คนในสังคมไทยว่าเรามีโอกาสที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าร่วมกันอย่างมีความสงบสุขและสันติอย่างไร
 

 

 

รศ. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์


รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 


http://newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=5621&user=attachak  

 

"สังคมไทยยาม "พักรบ"



วันที่ 24 ธ้นวาคม พ.ศ. 2551


"สังคมไทยยาม "พักรบ"

โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล

มีใครเชื่อบ้างว่าความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นได้ถูกแก้ไขให้ลุล่วงไปแล้วบ้าง หากไม่หลอกตัวเองจนเกินไปนัก ก็คงพอมองเห็นได้ว่าปัญหาความขัดแย้งทั้งหมดยังคงดำรงอยู่ สถานการณ์ในห้วงเวลาปัจจุบันเป็นเพียงการ "พักรบ" ชั่วขณะเท่านั้น ซึ่งพร้อมจะหวนกลับคืนมาสู่การเผชิญหน้ากันอีกครั้งหนึ่งได้ไม่ยาก

แม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสังคมไทยจะหวนกลับเข้าสู่สถานการณ์ "สู้รบ" อีกเมื่อไร แต่อย่างน้อยก็อาจเป็นเวลาดีที่เราจะได้ใช้เวลาและปัญญาไตร่ตรอง เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมีสติ และสามารถมองเห็นปัญหาต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น

ดูเหมือนว่ารัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ จะถูกคาดหวังไว้อย่างมากว่าจะนำพาสังคมให้พ้นห้วงเวลาวิกฤตินี้ รวมถึงตัวนายกรัฐมนตรีเองก็ปวารณาตนว่าจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สร้างความสมานฉันท์ให้กับสังคมไทย อย่างไรก็ตาม เพียงแค่การจัดตั้งรัฐบาลขึ้นก็ได้สะท้อนให้เห็นแล้วว่าการแก้ไขปัญหาในขณะนี้ ต้องการความสามารถมากกว่าการใช้โวหารเพียงอย่างเดียว

ไม่ใช่แค่เฉพาะความยุ่งยากที่เกิดขึ้นภายในพรรคประชาธิปัตย์ ยังมีวิบากกรรมอีกมากที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องเผชิญ โดยเหตุที่การจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากครรลองของระบบรัฐสภาอย่างตรงไปตรงมา หากด้วยกำลังภายในภายนอกของหลายฝ่าย รวมถึงการต่อรองระหว่างนัก/พรรคการเมือง ทั้งหมด ทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบันจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจของอีกหลายส่วน ที่มีบทบาทในการทำให้การจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้

การพึ่งพาจำนวนมือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกพรรคประชาธิปัตย์ การสนับสนุนจากกลุ่มอำนาจนอกระบบล้วนแต่ทำให้พรรคนี้ต้องแหยมากขึ้นในการบริหารงาน รวมถึงอาจต้องทนให้โครงการที่มีกลิ่นตุๆ เกิดขึ้นได้

เว้นเสียแต่ว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ จะไม่สนใจกับความมั่นคงของรัฐบาล ซึ่งในปัจจุบันก็เห็นได้ชัดว่าไม่ได้เป็นในทิศทางดังกล่าว การหันมาจูบปากกับคุณเนวิน ชิดชอบ และการถูกกระหน่ำจากลูกพรรคในขณะนี้คงบอกความหมายให้เราได้เข้าใจได้ไม่น้อย

แทนที่จะฝากความหวังไว้กับรัฐบาลที่ไม่สู้จะมีอนาคตมากสักเท่าไร สังคมควรกลับมาขบคิดและสร้างความรู้เพื่อเป็นพลังในการเผชิญหน้ากับปัญหาที่กำลังรายล้อมอยู่จะไม่เป็นการดีกว่าหรือ

ภาวะความขัดแย้งและความยุ่งยากทางการเมืองที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะสามารถแก้ไขได้ด้วยคำอธิบายง่ายๆ ว่า เพราะชาวบ้านโง่ จน เจ็บ เลือกเอาแต่ผู้แทนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ เมื่อใดก็ตาม ที่คำอธิบายเป็นไปตามตรรกะนี้ทางแก้ไขดูเหมือนว่าจะมีเพียงการแสวงหาคนดีมาเป็นผู้แทน หรือคัดเอาแต่ผู้บรรลุธรรมมาเป็นผู้ปกครอง

อาจต้องทำความเข้าใจมากขึ้นกับระบบการเมืองว่าเหตุใดกลุ่มรากหญ้าจึงจงรักภักดีกับบางพรรคการเมืองเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อไปสองหรือสามชื่อแล้วก็ตาม ใช่หรือไม่ว่าการสร้างนโยบายตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในระดับล่างแทบไม่เคยเป็นประเด็นสำคัญของพรรคการเมืองอย่างชัดเจนมาก่อนตราบจนกระทั่งการเกิดนโยบายประชานิยม

ในขณะที่ชนชั้นกลางก็ได้รับปรนเปรอด้วยนโยบายประชานิยมมาอย่างต่อเนื่อง นโยบายต่างๆ ในการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลเผด็จการหรือในยุคประชาธิปไตย ก็ล้วนแต่ทุ่มไปยังกลุ่มคนเมืองหรือชนชั้นกลาง อาทิเช่น ค่าไฟฟ้าราคาถูก ระบบการขนส่งมวลชนที่ใช้เงินทุนมหาศาล การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในเขตเมือง การกดราคาพืชผลทางการเกษตรในระดับต่ำ เป็นต้น

แต่ทั้งหมดนี้ กลับไม่เคยมีใครมากล่าวหาเลยว่าชนชั้นกลางถูกมอมเมาด้วยประชานิยม

การให้การสนับสนุนอย่างสุดหัวใจของรากหญ้าจึงไม่ใช่เรื่องของความโง่ ความเขลา ตรงกันข้าม นี่คือ สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองเสียด้วยซ้ำ หากไปเลือกพรรคการเมืองที่ไม่ได้เคยผลักดันนโยบายอะไรให้เกิดขึ้นอย่างเป็นชิ้นเป็นอันกับตนเลย พฤติกรรมแบบนี้ต่างหากที่ควรจะถูกกล่าวว่าโง่

การสร้างนโยบายที่สร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับคนทุกกลุ่มในสังคมจึงควรต้องถูกนำเสนอ การใช้มาตรการทางภาษีเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ การกระจายในการตัดสินใจเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ นโยบายด้านการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน หรือระบบการศึกษาที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ฯลฯ รวมกระทั่งการเขียนรัฐธรรมนูญด้วยกระบวนการที่สร้างความชอบธรรมและการยอมรับอย่างกว้างขวาง ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องได้รับความสนใจและผลักดันจากทุกฝ่า

หากสามารถทำความเข้าใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้พ้นไปจากเพียงการประณามอีกฝ่าย ก็จะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้สังคมจะสามารถมองเห็นการออกจากปัญหานี้ได้กว้างขวางขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หากยังติดอยู่กับการมองปัญหาทางการเมืองแบบดี/ชั่ว การแก้ไขความยุ่งยากก็อยู่เพียงแค่การพยายามล้มรัฐบาลอีกฝ่าย หรือทำให้ชาวบ้านมีเสียงเบาลงในระบบการเลือกตั้ง ซึ่งจะไม่ทำให้สังคมไทยสามารถหลุดพ้นไปจากความขัดแย้งได้ในระยะยาวแต่อย่างใด


http://newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=5615&user=somchai    

When the beauty of democracy is not so beautiful



By Chang Noi


Published on December 22, 2008

 

THE OVERTHROW of the PPP government was justified on grounds its electoral success was based on vote-buying and hence illegitimate. Now the Democrats have been wafted into power by the divine intervention of Newin Chidchob. Should we laugh or cry? Newin is allegedly Thailand's most famous vote-buyer.




In 1995, police raided a Buri Ram shophouse and found Bt11.3 million in small denomination notes, some stapled to a campaign flyer for Newin. These facts are not in doubt, nor (for most people) is the interpretation. But the election law is rather like the prostitution law. Police have to catch the client both engaged in the act and paying the money at the same time, which is technically a bit difficult. Judges convicted the shophouse owner, thus confirming that vote-buying had taken place on behalf of Newin. But they excused the man who had benefited on grounds there was no direct evidence of his involvement.

 

In a tape transcript allegedly recorded in Songkhla in January 2005, someone addressed as "minister" proposes "we will buy everything everywhere" to overtake poll rivals. "I'd like to challenge all of you from these 25 tambons in this way. If Thai Rak Thai wins, I'll give each tambon Bt100,000. Will you be able to take my money? I'll leave the money with the governors.

 

"On the morning of February 7, come and take it if we win. Take the money first, and we'll take care of the yellow and red cards later. Get the winning votes, then come to collect the money from the governors, and go celebrate."

 

The press identified the voice as Newin. He was the only minister in Songkhla at the time. This attempt at wholesale vote-buying failed, but Newin escaped again. The Election Commission, firmly under Thaksinite influence, ruled that the tape-recording was "indecipherable" even though various Thai newspapers transcribed it word for same word.

Politics has no use for irony. But the role of Newin has big implications for the incoming government. Newin's nominees hold the balance of power in Parliament.

 

Newin has been a prominent figure in Thai politics for over a decade. He has been a minister for much of that time (sometimes through a nominee). It is hard to think of an achievement of national benefit from that time in office. It is even harder to think of any speech or statement by Newin about his political vision. Perhaps his best-remembered quote came after another court case when he narrowly escaped being banned from Parliament. He praised the judges' narrow 7-6 split-decision as "the beauty of democracy".

 

He was Agriculture Minister through the Thaksin era and the resulting scandals are just reaching the courts. Earlier this year, Mingkwan Saengsuwan secured a huge budget for rice price support and then woke up next morning to find the project had been ripped from his hands by Newin. The price of his support for the current government has been very high. The Communications Ministry has the largest and chunkiest capital budget of them all. The Interior Ministry is the single most powerful ministry, and many of those powers are marketable. This truly is the beauty of democracy.

 

What does this portend for the Democrat-led coalition?

 

The installation of the Abhisit government has been an action replay of Chuan II in 1997. With an economic crisis looming, pressure from the army and business, fractured parties in the ruling coalition allowing the Democrats to stitch together a government, rewarding the splitters with plum ministries. A key figure in that split was Vatana Asavahem, now a fugitive from justice after conviction for massive corruption. After two in a row, this is confirmed as the Democrat Party route to power.

 

But as a guide to the prospects for the Abhisit government, Chuan I looks better than Chuan II. In 1992, the Democrats headed a coalition formed in the aftermath of the May 1992 political crisis. The crisis had stirred up hopes for reform and progress in many forms, and these hopes were riding on the Chuan government. Similar hopes are now riding on Abhisit.

 

The Chuan I government did a relatively good job with the economy. It reformed taxation, brought down tariffs, pushed for the Asean Free Trade Area, and completed reforms of the financial sector begun under its predecessor. The economic impact of the 1992 political crisis was minimised because Chuan's economic team was credible, foreign confidence was restored, and domestic business cooperated with government plans. Growth revived after only a small dip.

 

But other hopes for reform in the constitution, local government, judiciary, media, social policy, and the bureaucracy were sadly disappointed. In almost every case, the pattern was the same. Conservative forces were able to manipulate the minor parties in the coalition to undermine proposals for reform. Because the Democrats depended on these minor parties for its majority, it was repeatedly vulnerable to this political blackmail.

 

Management of the fractious coalition sapped the government's energy and ultimately brought the Chuan I government crashing down in a slew of corruption scandals. The finale was the SPK-401 land scandal, which involved several Democrat Party members, but there were many others involving the coalition partners. One coalition MP was indicted in the US for smuggling massive quantities of marijuana from Isan. Two others were denied US visas for suspected drug involvement. Another was embarrassed by the discovery of an illegal casino in his house. A minister was suspected of masterminding a boom in oil smuggling. Several government-related figures were involved in land scandals.

 

The way these scandals were exposed may also be a guide to this government's fate. It was not the NGOs, academics, and other whistle-blowers that delivered the killer blow but a group of young politicians. Judging by their involvement in scandals under the following Banharn and Chavalit governments, they were not interested in cleaning up corruption, but taking it over. Newin was one of this group. But then that is the beauty of democracy.


http://nationmultimedia.com/2008/12/22/opinion/opinion_30091546.php 

 

Friday, December 19, 2008

Feet to the fire


Feet to the fire    

 

Bangkokpost.com,Friday December 19, 2008 06:50 

 

New Prime Minister Abhisit Vejjajiva will be tested by both the red shirts under the United Front of Democracy Against Dictatorship and the yellow shirts under the PAD. ANALYSIS By Thitinan Pongsudhirak

 

For those who have tracked Abhisit Vejjajiva's career with high hopes since his meteoric rise to the political limelight in March 1992, when the 28-year-old upstart out-debated political veteran Samak Sundaravej to the point of frustration and bluster on national television, his premiership has arrived in less than ideal circumstances.

It is an outcome of military meddling in politics, political reconfigurations in the aftermath of judicial decisions, a virtual blackmail by the People's Alliance for Democracy, and an emblematic embrace of old-style politicians of Newin Chidchob's ilk.

Lest we forget, Mr Abhisit and his Democrat Party have committed repeated misjudgements, demonstrated poor political skills and exploited myopic opportunism over the past three years. Yet much will be forgiven and forgotten if he can deliver Thailand into the 21st century on a solid footing, healing deep-seated rifts and reconciling the raw urban-rural inequality at the root of Thailand's crisis.

When Thailand's protracted political crisis began in late 2005, Mr Abhisit and the Democrats understandably sided with civil society groups that stood up to the corruption and abuse of power by ousted prime minister Thaksin Shinawatra. During the crescendo of the anti-Thaksin protests in early 2006, Mr Abhisit called for royal intervention with the invocation of Article 7 of the 1997 charter. When a snap election was called shortly thereafter, Mr Abhisit, as opposition leader, boycotted the polls, setting in train the topsy-turvy electoral environment that induced unprecedented judicial activism and eventually brought on the military coup in September 2006.

The coup was a cue for the Democrats to take charge by providing an alternative leadership and policy platform. It was not rocket science. All the Democrats needed to do was to adopt some of the pro-grass-roots policies that won elections for Thaksin and his allies time and again, while keeping corruption and abuse of power at bay. But the now-governing party dithered and trapped itself into an anti-Thaksin box, invariably deploring the Thaksin programmes and his rule without proclaiming what the Democrat party actually stood for.

An entire year under the coup-appointed government elapsed before the Democrats found themselves in a military-endorsed election in December 2007 only to ape Thaksin's populist programmes. When they resoundingly lost the election, the Democrats reverted to their comfortable anti-Thaksin box. The party's disregard for the pro-poor policy planks suggested that they emanated not from outlook and conviction but expediency and opportunism. The Democrats then spent much of 2008 just as they did in 2006, going after Thaksin, his proxies and allies, whose best political talents have been disqualified and banned from politics. In doing so, Mr Abhisit and the Democrats developed a symbiotic relationship with the PAD. A number of PAD organisers and advisors ran under the Democrat banner in the election, while a number of Democrats were regular speakers and visitors to PAD-occupied sites.

Not once this year has Mr Abhisit laid out his vision for Thailand and the attendant policy ideas to move Thailand forward. It is still not rocket science. Some of the Thaksin-era policies for rural uplift, industrial upgrading, cluster-development projects and competitiveness-boosting structural reforms should be considered to bring Thailand firmly into the globalisation age. Mr Abhisit also will need to provide policy directions on mega-infrastructure projects, bilateral free-trade agreements in view of the stalled global trade talks, and privatisation of key state enterprises. Here is where the new prime minister's mettle will be challenged the most. The Democrats' implicit alliance with conservative forces may come back to haunt them if pressure for a more inward-looking Thailand builds.

More critically, Mr Abhisit will be tested by both the red shirts under the United Front of Democracy Against Dictatorship and the yellow shirts under the PAD. For the UDD supporters, the new prime minister radiates yellow, complicit in what they see as the PAD's highway robbery of their election victory. Mr Abhisit will have to exercise magnanimity and restraint when the red shirts mobilise and protest in much the same way the PAD has done. For the yellow shirts, Mr Abhisit, as the scion of the Establishment, ironically may not be yellow enough, as the PAD leadership still calls for an extra-parliamentary and extra-constitutional way out of the crisis. Mr Abhisit's worst spot is to be caught between this rock and that hard place, between red and yellow shirts that will be unhappy and unsatisfied irrespective of the PM's response.

Beyond this seemingly dialectical conflict, Mr Abhisit will have to keep unruly coalition MPs in line. That the coalition partners, with half of the strength of MPs compared to the Democrats', have garnered almost as many cabinet seats indicates disproportionate leverage. In this rough-and-tumble coalition jockeying and jostling, Mr Abhisit and his handlers should start making inroads into the opposition Puea Thai party for potential defections to impose a prisoner's dilemma on Mr Newin's and other wayward factions.

Economic adversity and foreign policy are obvious challenges. As the triple crises of global recession, domestic crisis-induced economic slowdown and airport closures intensify, the Abhisit government will be under pressure from a bewildering array of pent-up groups from farmers and industrialists to labourers and urban dwellers. A pump-priming stimulus package is imperative, and should be geared to have immediate effects. The imperative of fiscal expansion and deficit-financing should be explained and substantiated. Thailand's standing in the international community is in tatters. The Asean summit requires focus, and relations with the major players in the region and beyond need immediate revival and reassurance. These two broad policy fronts are the Democrats' forte.

To be sure, Mr Abhisit deserves every opportunity to set things right. He has to find a way to wriggle out of the Faustian bargain his party has struck. His political instincts will ultimately set the tone and content of his rule. Whether his Eton and Oxford grooming can overcome the elitist trappings of his Chulalongkorn Demonstration school and Sukhumvit road upbringing will have much to say about his premiership prospects. Many of his critics and detractors near and far are willing to take a pause while the jury is out on his rule.


Thitinan Pongsudhirak is Director of the Institute of Security and International Studies, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University.