Thursday, February 19, 2009

One song, two nations, in the shadow of another looming crisis




One song, two nations, in the shadow of another looming crisis

By  Chang Noi

16 feb 2009

 

Every now and then a song comes along that captures a moment. Since its release late last year, the song ‘Dao Mahalai’ (University star) by the country ensemble, Saomat Megadance, has been a huge hit. That’s not just because of it’s a catchy tune and infectious energy, but because of what it says and how it says it.

 

The song tells a story. Dao comes from Ban Nong Yai, Big Pond Village, a name so typical it appears in almost every province. Her mother sold some land to send Dao to university in Bangkok. Because Dao is pretty and standout in everything she does, she’s become a star amongst her peers. As the song opens, she phones home. In a flat country accent, mother summons Dao back to the village to help on the farm during the university vacation.

 

Dao suffers instant culture shock. She finds the village so underdeveloped, full of pigs, dogs, crows and chickens. The villagers are uneducated, and eat fermented fish, frogs, lizards, and even beetles picked out of buffalo dung. The boys drink local liquor, ride motorcycles, and like country music. In Bangkok, Dao prefers a Benz or a latest-model BMW, and modern pop stars with cute farang names likes Golf and Mike. Back in the village there’s just the sound of the birds.

 

In Bangkok she can stroll around the shopping malls. Back in Big Pond there’s only the occasional market where you have dodge between the cows and buffaloes. The stalls sell only shirts at 199 baht. “How can people wear this stuff. Dao just can’t adjust.”

 

It gets worse. She goes out to the field to help on the harvest. Still wearing her high heels, she falls flat on her face, and comes face-to-face with a slobbering buffalo. After a bone-shaking ride home on a local tractor, she collapses with a fever. “This is not me. This is not the real Dao.” In Bangkok she’s “a cheerleader, a pretty, a presenter. You want me to be a farmer?”

 

Dao is bored with the village, the food, the stink of the animals. She wants to go back to Bangkok and be the star of the university again. “That matches the concept that Dao has set for herself.” But her mother can’t take it. Studying has no product. Farming does. Mother knows how to till a field, but what on earth is Dao going to do when she finishes university? At this challenge, Dao’s language takes flight into outer space. Her mother’s criticisms “demean the prestige of a star of the university.”

 

The song’s theme is nothing new. Boys and girls have been migrating from the village to the city for ever, and have been coming from Thailand’s northeast to Bangkok in huge numbers for three decades. They come to get educated, to make some money, to have fun, to broaden their world, to become modern. There have been countless songs on this theme.

 

But this one stands out, partly because of the viewpoint. The song and the band are right in the middle of the spectrum between Dao and her mother. The lilt of the melody and the speak-over style of singing are classic country music. But the driving rhythm comes straight from urban rock, and the delivery has a touch of hip-hop. The very name of the band, Saomat Megadance, starts out in the village and ends in the global disco. The singer is neither a clean-cut assembly-line pop star nor a classic country singer but a bubbly girl-next-door with a belting voice. The song mocks both Dao and her mother, but mocks with great warmth. This is the way things are.

 

The real triumph of the song lies in the lyrics and the language. Dao reels off the names and brandnames of Bangkok culture, which are all in English: Benz, Centerpoint, The Mall, Big-C, Central, Seven, Academia Fantasia. She litters her language with English words (summer, country, city), especially some favored in the media world (concept, pretty, presenter), and especially complex words (pasteurized, sensitive,university) which have style value as contrast with Thai’s usual monosyllables.

 

Her mother talks the language of the northeast. As the song slides into its squabbling conclusion, the contrast is acute. Mother delivers a curse in language so broad it is barely comprehensible, and so earthily crude that it is distinctively village. Dao responds with the song’s signature line, “Mother doesn’t understand Dao, mother is not sensitive,” with “sensitive” spoken twice in English, and delivered in its distinctive, sniffy Bangkok pronunciation. The gap between Dao and her mother is not just one of generations or even only of cultures. If language is the bedrock of nationhood, then they belong to different nations. What’s more, neither tongue is the standard Thai of the official imagination. Mother talks in Isan Lao. Dao uses Bangkokspeak, the polyglot dialect of the globalized city.

 

The song arrives as the urban economy is again tipping over a cliff. It’s no coincidence that the last song which was couched in a similar style and achieved the same hit status was Ploen Phromdaen’s ‘The Floating Baht’ which appeared in the teeth of the 1997 crisis.

 

In 1997, when employment collapsed, two million of Dao and her friends had to go back to Big Pond, at least for a short time. The song hints that this time such a movement could be more difficult. That’s not for economic reasons. The carrying capacity of the rural economy is pretty good. Low oil prices have brought down input costs far more than selling prices. Margins are healthy. The problem is that the cultural gap has got wider. The two nations have eased further apart in the past decade. That’s the song’s stunning message.

 

Still, maybe Dao may just have to ditch her high heels, steel herself for the culture shock, relearn the language -- and get herself a passport to travel from one nation to the other.

 

 

(www.geocities.com/changnoi2) 

 

 

The Thai military is back in charge



The Thai military is back in charge

By  Chang Noi

2 feb 2009

 

The big winner from the political chaos of the last three years has been the Thai military. Possibly, the generals are now more powerful than at any time over the past twenty years. Under coup rule, they might seem more powerful but in truth are a little limited by being fully exposed. In present circumstances, they have a discrete cover. It is hard to recall the last change of government when the army chief played such a prominent role. The publicity-shy General Anupong has a bigger profile in day-to-day news than his publicity-hogging predecessor General Sonthi a year ago.

 

The most spectacular evidence of the military’s success is in the national budget. Over three budget cycles, the allocation for defence has almost doubled from 85 billion baht in 2006 to 167 billion baht in 2009. The allocation for internal security has also soared from 77 billion to 114 billion over the same period. No other segment of the budget has grown in the same way, and indeed most have been shaved down to accommodate this growth in security spending.

 

The scale of this budget boost has to be measured against what preceded it. The defence share of the budget had slumped steadily from 19 percent in 1991 down to 6.3 percent in 2006. It was no coincidence that this decline in the defence share coincided with the long period of parliamentary rule, and that the upturn (now back to 9.1 percent) has come after a coup. Buying weapons is back on the agenda. The navy wants to add submarines to park beside its aircraft carrier.

 

But the budget is only one sign of the military’s recent success. The military also has three trophies from the frenzy of legislation in the dying days of the coup-appointed parliament.

 

The most important is the Internal Security Act. This legislation reconfirms the military’s role in internal security which seemed in peril after the Democrats remaindered the anti-communist law in the late 1990s. In the first, extremely ambitious draft of the law, the army head was to become head of the revived ISOC, and beholden to virtually nobody. The parliament amended this to make the prime minister the titular head of ISOC, but in effect the operational power remains with the army chief. The boundaries of internal security are not defined in the law and hence are open to wide interpretation. The act is the charter for the army to reclaim the guardianship role in Thai politics that it developed in the Cold War era and lost over the past two decades. This guardianship is not just about putting governments in power but extends down the administrative pyramid. The army policy document leaked a year ago stated that “kamnan, village heads, and local government bodies must be in our hands,” and army personnel should take over duties such as suppressing drugs, controlling illegal migration, combating drought and flood, and alleviating poverty. The ISOC chief in each province is to spearhead this policy, mobilizing help from reservists and former cadet school students.

 

The Broadcasting Act is another triumph. Ever since 1992, there has been public pressure for reform and liberalization of the media. The 1997 Constitution mandated a new regulatory structure under which broadcasting frequencies would be treated as public goods. This structure was never implemented because of sabotage by old vested interests. The new Broadcasting Act is a brilliant preemptive move that puts all the intentions of the 1997 Constitution firmly in the past. The Act creates a new regulatory structure but offers absolutely no threat to the old system of broadcasting concessions. Thailand is probably the only purported democracy where the military owns two free-to-air television channels, one directly managed, and many radio stations. These broadcast outlets are channels for propaganda and sources of non-transparent flows of income.

 

The Defence Ministry Act is a direct response to Thaksin’s interventions in the military promotion lists. In the past the promotion lists were prepared by the service chiefs then passed to the defence minister and prime minister before submission for the royal signature. Generally any disagreements had to be resolved among the parties before the final submission. In 2005, Thaksin seems to have altered the final list, provoking a crisis. The new bill changes the system. The list is vetted by a committee made up of the three service chiefs, permanent secretary for defence, prime minister, and defence minister. Any dispute is to be decided by a vote. The service chiefs have a built-in majority. As long as they are united, the prime minister is out of it.

 

In July 2006, General Prem famously said, “soldiers belong to His Majesty the King, not to a government. A government is like a jockey. It supervises soldiers, but the real owners are the country, and the King.” During the long standoff between the PAD and the Samak-Somchai governments, General Anupong repeatedly insisted on remaining “independent” and being “on the side of the people,” which essentially meant refusing to act as the security arm of the elected government. When a State of Emergency was declared, he mobilized troops but kept them inside the barracks. When the airports were seized, he stood aside. At one point Anupong stated, “I am not a soldier of the government. The army belongs to the Thai public. I can’t channel it to serve as anybody’s private army.”

 

Under the constitution, the monarch is the head of the armed forces. The working relationship between the executive and military has always been a matter of delicate negotiation. After 1992, the pendulum seemed to be swinging away from the generals. Parliament demanded more transparency in the budget. Chuan and Samak disrupted the “convention” that the defence minister should be a military man. Thaksin exerted influence on promotions. Now the pendulum has swung firmly back. The military is more a power unto itself. The prime minister seems to be a spokesman defending the military against accusations of abuse.

 

 

(www.geocities.com/changnoi2)  




 

Solving the far south starts from understanding the far south



Solving the far south starts from understanding the far south

By  Chang Noi

19 jan 2009

 

Last week Amnesty International reported the Thai army is systematically using torture in the far south. The army denies it has any such policy. Yet a Narathiwat court last month ruled that an imam had been battered to death in military detention. For the past year, the far south has been swept from the front pages by the violence in the rest of the country, but the problem has not gone away. The frequency of incidents has dropped, but the intensity of violence has increased.

 

Earlier, many blamed the mess on Thaksin, his dismantling of the SBPAC, and his use of the police rather than the army. But Thaksin has gone. The police have been removed. The SBPAC is back. Somehow, things are not getting better.

 

To his enormous credit, Abhisit seems prepared to try something new. But what? The resurgence of violence four years ago prompted new attempts to understand the region and the violence with more depth than daily reporting and comment. Some of these efforts have recently been published.

 

The Thammasat political scientist and peace activist, Chaiwat Satha-Anand, has editedImagined Land, a kind of soul-searching exercise about how the rest of the country views and interprets the far south. In this collection, Decha Tangseefa read the “bureaucrat manuals” prepared to brief army and government personnel assigned to the far south. These manuals explain about Islam and Islamic society, and advise officials how to conduct themselves. To his amazement Decha found that the content had scarcely changed over eight decades. In 2004, government reprinted the 1923 edition with minimal change. An introduction explained that “the advice for bureaucrats contained herein is not outdated at all” because the situation is “no different.” As Decha points out, this claim is stunning. In 1923, the Thai state was very different; the past sixty years of protest and insurgency among Malay Muslims had not yet happened; and the radical globalized Islam of today was nowhere to be seen.

 

By reading the manuals closely, Decha discovers some small changes. The 1923 edition advised officials to build good relations with local teachers and imams by arranging special meetings “with suitable ceremony.” In the 2004 edition, this last phrase changed to “just for ceremony.” In short, where officials were once advised to go out of their way to show respect, they are now prompted to put on a show. In the Thai, the difference is only one word. The dismissive attitude of these manuals is itself a kind of violence.

 

The British political scientist, Professor Duncan McCargo, spent a year in the far south interviewing officials, soldiers, ex-rebels, politicians, academics and local by-standers. His book, Tearing Apart the Land, is forthright, powerful, polemical. The military will not like it at all.

 

McCargo reaches the conclusion that the Thai security forces cannot prevail. To put that another way, the militants have already won.

 

The Krue Se mosque and Tak Bai incidents turned the local population fiercely against the security forces. The army realized that they were being suckered into confrontations which made them look bad. In later incidents at Saiburi, Kapho, Tanyong Limo, the army refused to be drawn into similar traps, even though this meant the sacrifice of Teacher Julin and several soldiers. But standing back just delivered the militants victory in another form. Territory slipped out of effective control. Patrols were reduced to driving around at high speed to evade attack. The army could no longer protect people. Whether for love or for fear, few in the three provinces would now dare side with the security forces. In McCargo’s estimate (made around a year ago) large tracts of the three provinces are wholly or partially “no-go” area, effectively beyond state control.

 

Though the hated police have been withdrawn, the army is not doing much better. “The core pursuits of the Thai military are playing politics and engaging in business activities.” The nature of the fighting is new, and the military do not have the right training or equipment. McCargo observes in amazement that they cannot even run a simple checkpoint properly. Intelligence is poor and often contradictory. Strategy depends heavily on learning from old anti-communist campaigns, now often irrelevant. More and more use is made of rangers and paramilitary forces that are less well-trained, less competent, less disciplined, and less sensitive.

 

If a military solution is unlikely, what else? McCargo examines what the militants and the local population seem to want. In the absence of formal demands, this is tricky. He concludes there is no strong evidence of separatism, in fact no coherent political demand at all, but simply a fierce anger at being treated so badly. What the Malay Muslims seem to want is a way to live within Thailand without being treated as outcastes. The solution, McCargo argues, is “to give Malay Muslims substantial control over their own affairs, while retaining the border region as part of Thailand. In other words, substantive autonomy.”

 

This thought has come up several times over the last four years—notably from Chaturon Chaisaeng and even General Chavalit Yongchaiyuth. Each time the army has slapped it down, trotting out the mantra that Thailand is a unitary state which cannot be divided. But this argument is thin. Many unitary states devolve power in order to manage special situations. The far south is not really different from “minority problems” that other countries have managed quite well. Maybe the military fears that a political solution could be seen as a defeat for them. This sensitivity needs to be finessed.

 

The eclipse of Thaksin and the installation of a new government present an opportunity to break the deadlock over the far south. The Democrats have bravely said they will look deeper than a military solution, and Abhisit has taken the initiative to start a process. In different ways these two books suggest that some very brave and radical decisions need to be made.

 

 

(www.geocities.com/changnoi2)   



 

‘สมเกียรติ ตั้งนโม’ ยันใช้สิทธิเสนอแก้ไข ม.112 ตาม รธน.



สมเกียรติ ตั้งนโมยันใช้สิทธิเสนอแก้ไข ม.112 ตาม รธน. แนะหากเห็นว่าผิดให้ไปแจ้งความ 

 

คณบดีวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ยืนยันลงชื่อเสนอแก้ ม.112 ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แนะคณาจารย์ที่ล่าชื่อขับ ไปศึกษารัฐธรรมนูญ หากเห็นว่าทำผิดให้ไปแจ้งความดำเนินคดี ยืนยัน ม.112 เป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลายฝ่ายตรงข้าม กระเทือนสิทธิพลเมืองและไม่สามารถปกป้องสถาบันกษัตริย์ได้สมเจตนา จึงควรยกเลิกและตรากฎหมายใหม่ อธิการบดีแนะหากจะยื่นถอดถอน ต้องไปยื่นคำร้องที่สภา มช.

 

เมื่อ 16 ก.พ. รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดเผยกับ กรุงเทพธุรกิจ ถึงกรณีที่คณาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ ออกแถลงการณ์และยื่นหนังสือให้สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถอดถอนออกจากตำแหน่ง คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ กรณีร่วมลงชื่อแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ม.112 ที่มี รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นแกนนำคนสำคัญ โดย รศ.สมเกียรติกล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องการยื่นถอดถอน แต่ก็ไม่เป็นไร ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว ไม่ว่าใครจะยื่นถอดถอนหรือออกแถลงการณ์ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ และจะไม่ชี้แจงใดๆ เนื่องจากตนเองไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย

 

ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับเต็มปี 2550 ได้ระบุแล้วว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิ์เสนอแก้ไขกฎหมายฉบับใดก็ได้ ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งตนเองก็ขอย้ำอีกรอบว่าไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย ซึ่งอาจารย์ที่ร่วมออกแถลงการณ์ก็ควรจะกลับไปลองอ่านและศึกษารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวดู อย่างไรก็ตาม ถ้าใครเห็นว่าผิดก็ไปแจ้งความดำเนินคดีได้เลย ไม่มีปัญหา

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ รศ.ใจ หลบหนีการดำเนินคดีหมิ่นไปที่ประเทศอังกฤษนั้น ในฐานะที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนดังกล่าว รศ.สมเกียรติ กล่าวว่า ไม่อยากพูดถึงอาจารย์ใจอีก และขอปฏิเสธข่าวที่มีการนำเสนอคำพูดตนเองที่บอกว่าอาจารย์ใจหนีเอาตัวรอดคนเดียว” ไม่เป็นความจริง เพียงแต่บอกว่าอาจารย์ที่ร่วมเซ็นชื่อแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ ถูกหลอก

 

ต่อมา รศ.สมเกียรติยังให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมกับ “ประชาไท” วานนี้ (18 ก.พ.) ว่า เรื่องนี้เป็นการอาศัยเหตุการณ์ที่ตัวเขาร่วมลงชื่อในแถลงการณ์เรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฉบับแรก ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิเสรีภาพทางวิชาการและการใช้ กม.อาญามาตรา 112 ในการเป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลายฝ่ายตรงข้าม ซึ่งอาจารย์วิจิตรศิลป์ใช้กรณีดังกล่าวเป็นข้ออ้างในการปลดเขาจากการเป็นคณบดี

 

คณบดีไม่ใช่ศาลพระภูมิที่มีไว้กราบไหว้ คณบดีในมหาวิทยาลัยต้องยืนยันถึงสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ และเมื่อเห็นอะไรไม่เป็นไปตามครรลองหรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย ควรจะนิ่งเฉยหรือ กรณีนี้เกี่ยวกับ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือได้โดยง่าย สามารถนำขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมได้โดยลำพังโดยไม่ผ่านการกลั่นกรอง ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของพลเมือง และยังไม่สามารถปกป้องสถาบันกษัตริย์ได้สมเจตนา ดังนั้นจึงเห็นควรยกเลิกและตรากฎหมายใหม่ขึ้นมา ตามสิทธิประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 163”

 

รศ.สมเกียรติยังกล่าวด้วยว่า "เรื่องนี้เป็นความขัดแย้งภายในคณะวิจิตรศิลป์ เป็นเรื่องของกลุ่มอำนาจเก่าที่สูญเสียอำนาจ มีใบปลิวโจมตีผมก่อนที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นคณบดี และตลอดเวลา 7 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่ ก.ค. 51)ซึ่งผมดำรงตำแหน่งคณบดี คนกลุ่มนี้เป็นพวกที่โหนกระแส เป็นพวกโดยสารฟรี (Free Rider) อาศัยเหตุที่ผมไปลงชื่อกับแถลงการณ์ อ.ใจ อึ๊งภากรณ์ (แถลงการณ์เสนอแก้ไขกฎหมายอาญา ม.112) เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ และการใช้ประโยชน์กฎหมายอาญา ม.112 เป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลายกัน โดยไม่ได้เป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นประเด็นที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นำเรื่องนี้มาพิจารณาในรอบ 20 ปี (ดูบทความลำดับที่ 899 เรื่อง "คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ : พิทักษ์สถาบันหรือเครื่องมือคุกคามประชาชน")

 

ที่สำคัญคือ ผมลงชื่อในฐานะสมาชิกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ในฐานะพลเมืองไทยที่เสียภาษี ในฐานะที่ได้รับการรับรอง"สิทธิในการมีส่วนร่วมในทางการเมือง"ตามรัฐธรรมนูญ จะมาบิดเบือนว่าผมเป็นคณบดีวิจิตรศิลป์แล้วทำอย่างนี้ไม่ได้ คำถามของผมคือ เรื่องนี้ตราไว้เป็นกฎข้อบังคับใดในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือถ้ามีอยู่จริงก็ขัดรัฐธรรมนูญ" รศ.สมเกียรติกล่าว

 

ด้านหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน กรอบบ่าย วันที่ 17 ก.พ. รายงานว่า ศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงกรณีถอดถอน รศ.สมเกียรติว่า หากจะยื่นถอดถอนตำแหน่งใคร ต้องไปยื่นคำร้องที่สภา มช.

 

 

(www.prachatai.com/05web/th/home/15623)  


 

 

การเสนอแก้ไขกฎหมายคือเสรีภาพพื้นฐานของพลเมือง



แถลงการณ์ ม.เที่ยงคืน: การเสนอแก้ไขกฎหมายคือเสรีภาพพื้นฐานของพลเมือง  

 

หมายเหตุเมื่อวันที่ 16 ก.พ. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเผยแพร่แถลงการณ์เรื่อง

 การเสนอแก้ไขกฎหมายคือเสรีภาพพื้นฐานของพลเมือง”    ผ่านทาง www.midnightuniv.org ยืนยันการเสนอแก้ไขกฎหมายอาญา ม.112 กระทำได้ในฐานะของพลเมืองและเป็นเสรีภาพที่ต้องได้รับการเคารพ ความพยายามบิดเบือนว่าผู้เสนอแก้ไขหรือยกเลิกให้กลายเป็นบุคคลที่ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นับเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอย่างรุนแรง อีกทั้งเป็นการคุกคามการแสดงความเห็นอันเสรีของพลเมือง 

 

 

แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

การเสนอแก้ไขกฎหมายคือเสรีภาพพื้นฐานของพลเมือง

 

การกระทำอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นกฎหมายเรื่องหนึ่งที่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสังคมไทยอย่างสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมาซึ่งมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นรุนแรง กฎหมายนี้ก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงข้ามอย่างกว้างขวาง

 

แม้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายจะต้องการมุ่งปกป้องสถาบันกษัตริย์จากการถูกล่วงละเมิดโดยไม่ชอบ แต่ในความเป็นจริงได้มีการกล่าวหากับบุคคลเป็นจำนวนมากว่ากระทำความผิดในข้อหานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการกระทำหลายประการที่อาจมิได้เข้าข่ายต่อสิ่งที่เป็นความผิดในกฎหมาย เช่น การนำพระราชดำรัสมาพิมพ์เป็นสติ๊กเกอร์ ถ้อยคำบางคำที่ถูกตีความในทางลบต่อสถาบันกษัตริย์ การกระทำซึ่งเป็นการเพิกเฉยต่อสัญลักษณ์ของสถาบัน ฯลฯ

 

นอกจากนั้น ในส่วนของกระบวนการยุติธรรมก็ยังเกิดข้อสงสัยว่า ได้มีการดำเนินไปอย่างเป็นธรรมเพียงพอหรือไม่ บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาหลายคนไม่ได้รับการประกันตัว การได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่รัฐที่แตกต่าง อันเนื่องจากถูกมองว่าเป็นข้อหาที่ละเมิดต่อเบื้องสูง ซึ่งล้วนแต่ขัดต่อหลักการของรัฐธรรมนูญที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า "ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำตัดสินของศาลเกิดขึ้น"

 

ด้วยเหตุที่การเริ่มคดีดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยง่าย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองระหว่าง บุคคลหรือกลุ่มต่างๆ ภายใต้การกล่าวอ้างความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในเรื่องนี้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะกับฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง เกือบทุกฝ่ายต่างก็ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

 

ภายใต้สภาวการณ์ที่กฎหมายได้ทำให้เกิดปัญหาขึ้นเช่นนี้ การเสนอความเห็นเพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายจึงเป็นเสรีภาพพื้นฐานของพลเมืองในสังคมที่จะกระทำได้ ซึ่งการแก้ไขนี้อาจนำไปสู่ทางออกในหลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นกับความเห็นและมติของสังคมจะถกเถียง แลกเปลี่ยน และผลักดันความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายให้เกิดการยอมรับในสังคมอย่างไร

 

บุคคลผู้เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายไม่ว่าจะเป็นไปด้วยการเสนอให้ปรับปรุงเล็กน้อย หรือมาก หรือแม้กระทั่งให้ยกเลิกก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ไขนี้ ซึ่งทั้งหมดสามารถที่จะกระทำได้ในฐานะของพลเมืองและเป็นเสรีภาพที่ต้องได้รับการเคารพ ความพยายามบิดเบือนว่าผู้เสนอแก้ไขหรือยกเลิกให้กลายเป็นบุคคลที่ไม่จงรัก ภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นับเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอย่างรุนแรง อีกทั้งเป็นการคุกคามการแสดงความเห็นอันเสรีของพลเมือง

 

หัวใจสำคัญประการหนึ่งของการทำให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการการกลั่นแกล้งทางการเมือง ก็ด้วยการร่วมขบคิดถึงปัญหาและแสวงแนวทางแก้ไขที่เปิดให้ทุกฝ่ายได้เข้ามาร่วมถกเถียงแลกเปลี่ยนอย่างเสรี และเคารพซึ่งศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของซึ่งกันและกัน

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

16 กุมภาพันธ์ 2552

 

 

(www.prachatai.com/05web/th/home/15589)  

    


 

Tuesday, February 10, 2009

So far not so good for Abhisit's govt

So far not so good for Abhisit's govt

 

By: THITINAN PONGSUDIRAK

 

Published: 6/02/2009 at 12:00 AM

 

As it assumed office in less than ideal circumstances just over a month ago, the new government of Prime Minister Abhisit Vejjajiva has had a number of deficits to make up for.

Thailand's sputtering economy, driven by the deteriorating global economic crisis, demands immediate policy delivery and results.

On this score, the Abhisit government has responded quickly with a raft of populist policies and deficit-financing to cushion impending hardships in lost jobs, corporate bankruptcies, weakening consumer purchasing power, slowing revenue, and poor exports and investment prospects.

The fiscal tap remains open with further stimulus expenditure and planned social safety nets from additional domestic deficit-financing and foreign borrowings.

While its pursuit of economic recovery and revival in dire times holds promise, the Abhisit government is less successful on the promotion of national reconciliation and the avoidance of corruption and graft.

 

The ongoing scandal over government procurement that has claimed the resignation of Social Development and Human Security Minister Witoon Nambutr, bodes ill for government stability.

If the outgoing minister's case is a harbinger of future graft scandals, the Democrat party-led government's longevity will be in doubt.

Moreover, the growing noises of the anti-government United Front of Democracy Against Dictatorship (UDD) will add pressure to government performance and Mr Abhisit's proclaimed integrity.

Mr Witoon's resignation stems from irregularities involving the government's provision of flood relief supplies that included rotten canned fish to a southern province.

The fishy canned fish deal is seen as a procurement infraction where commissions may have taken place.

While it relieves pressure on the prime minister, the downfall of Mr Witoon, who was earlier cleared of a vote-buying charge that could have dissolved the Democrat party, is indicative of the dynamics and constraints within the coalition government on the one hand and the ruling party on the other.

An MP from the Northeast, where the Democrat Party is scarcely represented, Mr Witoon's replacement will be yet another MP from the same province. This means that the Democrats operate more on a regional quota basis than on merits, reflecting Mr Abhisit's limitations.

When it comes to backroom manoeuvres and dirty deals, Democrat secretary-general Suthep Thaugsuban, who himself faces a vote-fraud probe, is in charge.

At the same time, another cabinet member, Boonjong Wongtrairat of Bhumjaithai party, is mired in a vote-buying investigation involving the hand-out of relief funds for the poor along with his name card. The allegation centres on the association between the government's funds and his name card.

Bhumjaithai is a small collection of MPs, mostly from the Northeast, without which the coalition government would collapse.

It has thus been given a disproportionately large quota of cabinet posts. Bhumjaithai firmly backs Mr Boonjong, tying the hands of the PM and the Democrats into the same position.

The longer the fishy Boonjong case drags on, the more the Democrat-led government's image and Mr Abhisit's integrity and good governance pledges will be tarnished.

The Abhisit government is in a tight spot. While its efforts to shore up the economy and restore investor and stakeholder confidence are being given the benefit of the doubt, its management of corruption and graft - the Achilles' heel of every Thai government - is problematic.

It is alarming that the Witoon and Boonjong cases surfaced in a matter of days after they took office. If this rate of graft allegations keeps up, it is likely to erode government legitimacy and slash months off Mr Abhisit's rule.

To make matters worse for the government, the UDD is back in full force. Its protest rally in the streets on Jan 31 brought out some 30,000-odd red-shirted UDD followers who are supportive of convicted former premier Thaksin Shinawatra and opposed to the pro-government People's Alliance for Democracy.

With unappealing leadership, apparent shortage of funds and defections of key columns in the lower Northeast to the government's side, the UDD's considerable and resilient show of strength will pile pressure on government stability on top of the graft scandals.

Just as the PAD appeared to work hand-in-glove in street protests with the Democrats in Parliament last year, the UDD will be in cahoots with the opposition Puea Thai party this year.

If the economy turns inexorably south despite the various stimulus measures, Mr Abhisit's legitimacy-building efforts that bank on economic recovery, integrity and reconciliation may well come to naught, bringing forward his government's endgame before many Thais who are tired of intractable crisis and quagmire would prefer to see.

The writer is Director of the Institute of Security and International Studies, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University

( Bangkokpost.com )


291,607.50



291,607.50 

 

สมชาย ปรีชาศิลปกุล 



ตัวเลขที่ถูกนำมาใช้เป็นชื่อบทความในวันนี้มีความหมายถึงอะไร และมีความสำคัญอย่างไร 

รายงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เสนอต่อสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการถือครองที่ดินในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ ใน พ.. 2551 และเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะได้มีการเผยแพร่ออกให้กว้างขวาง 

จากการสำรวจพบว่ากรุงเทพฯ มีขนาดพื้นที่ที่สามารถถือครองได้ 927,074 ไร่ โดยเป็นจำนวนโฉนดที่ดินทั้งหมด1,915,388 แปลง ผู้ที่ถือครองที่ดินในกรุงเทพฯ มีทั้งหมด 1,424,207 ราย โดยผู้ที่ถือครองที่ดินมากที่สุดในลำดับแรกในกรุงเทพฯ (ซึ่งรวมทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลถือครองที่ดินจำนวน 14,776 ไร่ 

แต่ข้อมูลที่ทำให้ชวนตระหนกเป็นอย่างยิ่งก็คือ เมื่อสำรวจสัดส่วนของผู้ที่ถือครองที่ดินมากที่สุด 50 อันดับแรกจะคิดเป็นจำนวน 93,314 ไร่ ของที่ดินที่มีทั้งหมดในกรุงเทพฯ หรือหากกล่าวให้ชัดเจนก็คือว่าจำนวนผู้ถือครองที่ดินที่มากที่สุด 50 รายเป็นเจ้าของที่ดินมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของที่ดินทั้งหมดในจังหวัดที่เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย 

และหากเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างการถือครองที่ดินที่มากที่สุด 50 อันดับแรกกับการถือครองที่ดินที่น้อยที่สุด 50อันดับสุดท้าย จะพบว่ากลุ่มคนที่มีที่ดินมากที่สุดได้ถือครองที่ดินมากกว่ากลุ่มคนที่มีที่ดินน้อยที่สุดในกรุงเทพฯคำนวณออกมาเป็นสัดส่วนที่มีความแตกต่างกันถึง 291,607.50 เท่า อันเป็นตัวเลขที่เป็นชื่อของบทความในวันนี้ 

ข้อมูลดังกล่าวบอกนัยยะสำคัญ รวมถึงอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นภาพปัญหาในการถือครองที่ดินในสังคมไทยได้ชัดเจนขึ้น 

โดยไม่ต้องอาศัยความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์มาประกอบแต่อย่างใด ข้อมูลที่หยิบยกมาแสดงให้เห็นในงานวิจัยชิ้นนี้ก็สามารถทำให้มองเห็นภาพของความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินในเขตกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดีว่ามีคนกลุ่มที่เล็กมากเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ 

หากอาศัยข้อมูลจากสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ซึ่งสำรวจจำนวนราษฎรในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ วันที่ 31ธันวาคม 2550 พบว่ามีประชากรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรทั้งสิ้น 5,716,248 คน ดังนั้น หากนับสัดส่วนผู้ถือครองที่ดินที่มากที่สุดจำนวน 50 อันดับแรก (ซึ่งมีนิติบุคคลรวมอยู่ด้วยเทียบเคียงกับจำนวนประชากรทั้งหมด ตัวเลขที่แสดงออกมาจะมีผลเป็นดังนี้ ประชากรจำนวน 0.001 เปอร์เซ็นต์ของกรุงเทพฯ ถือครองจำนวนที่ดินประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประชากรที่เหลือ 99.999 เปอร์เซ็นต์ถือครองที่ดินในส่วนที่เหลือ 

การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินที่เข้มข้นอย่างมากเช่นนี้ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นผลที่นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจที่เลวร้ายยิ่งขึ้น การเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมากย่อมเป็นช่องทางในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจของคนกลุ่มนี้ได้อย่างง่ายดาย เช่น การให้เช่า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การจำหน่ายจ่ายโอนในราคาที่สูงลิ่ว เป็นต้น 

โดยทั่วไปเมื่อมีการกล่าวถึงการปฏิรูปที่ดินเพื่อนำไปสู่การกระจายการถือครองที่ดิน มักเป็นที่เข้าใจกันว่านโยบายนี้จะพุ่งเป้าไปที่เกษตรกรผู้ยากไร้และเป็นประโยชน์กับคนกลุ่มนี้เป็นหลัก ดังแม้กระทั่งเมื่อมีการกล่าวถึงนโยบายการปฏิรูปที่ดินภายใต้รัฐบาลชุดปัจจุบันก็คงให้ความสำคัญกับการตระหนักถึงการมุ่งไปสู่การก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินสำหรับภาคการเกษตรเป็นหลัก โดยไม่ได้มีการตระหนักถึงว่าปัญหาเรื่องการถือครองที่ดินเป็นปัญหาที่มีขอบเขตกว้างขวางรวมถึงการถือครองที่ดินในพื้นที่เขตเมืองใหญ่ด้วย 

การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินที่อยู่ในระดับสูง ในด้านหนึ่งก็ส่งผลให้ชนชั้นกลางในเมืองก็ได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง การกว้านซื้อและเก็งกำไรที่ดินในเขตเมืองชั้นในทำให้ชนชั้นกลางไม่สามารถที่จะมีที่พักอาศัยในเขตเมืองได้ จะเห็นได้ว่าในรอบ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา พื้นที่ซึ่งเคยเป็นชุมชนของชนชั้นกลางได้แปรไปเป็นศูนย์การค้า ห้างร้านธุรกิจเอกชน ออฟฟิศทำงาน ชนชั้นกลางไทยต้องกลายเป็น ผู้อพยพใหม่โยกย้ายออกไปอยู่ในพื้นที่รอบนอกที่นับวันจะไกลมากขึ้นๆ ปทุมธานี บางบัวทอง บางนา รังสิต นครนายก กลายเป็นที่พักอันถาวรของคนกลุ่มนี้ 

ไม่ใช่เพียงเท่านั้นราคาของบ้านและอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้กล่าวมาก็ถีบตัวขึ้น ชนชั้นกลางจำนวนมากที่ต้องทำงานหนักภายหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีไปจนกระทั่งเกือบถึงเกษียณอายุการทำงานเพื่อที่จะผ่อนทาวน์เฮาส์ 20 ตารางวาหรือบ้านเดี่ยวแบบหลังคาติดกันในหมู่บ้านจัดสรรมาเป็นของตน และส่วนใหญ่ของที่ผ่อนไปคือราคาของที่ดินอันแสนแพงซึ่งเป็นผลมาจากเก็งกำไรในหมู่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 

เงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนมากของชนชั้นกลางในธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดินก็คือ ความร่ำรวยที่ไหลไปสู่เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินจำนวนหยิบมือเดียวในสังคมไทย 

การปฏิรูปที่ดินที่หมายถึงการกระจายการถือครองที่ดินให้กับกลุ่มคนต่างๆ โดยเฉพาะคนตัวเล็กๆ ในสังคมจึงไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะกับเกษตรกรยากไร้เท่านั้น ในอีกด้านหนึ่งนโยบายนี้จะเป็นประโยชน์กับชนชั้นกลางในสังคมไทยเพราะจะทำให้สามารถเป็นเจ้าของที่ดินเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้สะดวกมากขึ้น แต่ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้องทำให้นโยบายการปฏิรูปที่ดินไปไกลกว่าเพียงแค่การแจก สปก. 4-01 ดังที่รัฐบาลกำลังขะมักเขม้นทำกันอยู่ในปัจจุบัน 

นอกจากนโยบายปฏิรูปที่ดินแบบนี้จะไม่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรรายย่อย ในระยะยาวแล้วก็จะไม่เป็นมรรคเป็นผลอันใดแก่ชนชั้นกลางแม้แต่น้อย การทำนาบนหลังชนชั้นกลางโดยเจ้าที่ดินจำนวนน้อยก็จะดำเนินต่อไปเช่นเดิม 

หากต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในนโยบายปฏิรูปที่ดินที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง การให้ความสนับสนุนกับการปฏิรูปที่ดินซึ่งให้ความสำคัญกับการกระจายการถือครองและการสร้างความมั่นคงกับผู้คนกลุ่มต่างๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ควรร่วมต้องกันผลักดันให้เกิดขึ้น 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์,  05  ก.พ. 52

 

 

 

Saturday, February 7, 2009

ภาษีที่ดินและมรดก




ภาษีที่ดินและมรดก

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์



ไม่ต่างจากคนอื่นๆ ผมเชียร์นโยบายออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประชาธิปัตย์อย่างสุดลิ่มทิ่มประตูเหมือนกัน แต่ครั้นศึกษาโดยรายละเอียดเข้า ก็ชักไม่แน่ใจว่าเป้าหมายที่แท้จริงของกฎหมายฉบับนี้คืออะไรกันแน่

ประโยคที่ตรงกันระหว่างรัฐมนตรีคลังกับท่านนายกฯ ก็คือ "เพื่อความเป็นธรรม" ซึ่งเป็นคำเพราะๆ ที่ไม่มีความหมายในทางปฏิบัติ (เพราะปฏิบัติได้หลายอย่าง) แต่ทางกระทรวงการคลังและหน่วยงานทางเศรษฐกิจมักเพ่งเล็งไปถึงตัวเงินที่จะได้มาจากการเก็บภาษี (ซึ่งตามร่าง พ.ร.บ.ที่สำนักงานเศรษฐกิจและการคลังปรับปรุงไว้ตั้งแต่ 2549 เงินจำนวนนี้จะอยู่ในมือ อปท.) บางคนถึงกับพูดว่า บทบาททางเศรษฐกิจการเงินของรัฐบาลในช่วงนี้ ทำให้ต้องมีเงินรายได้มากขึ้น

ทางฝ่ายท่านนายกฯออกจะระบุเป้าหมายได้ชัดเจนกว่า ท่านกล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า "... จุดสำคัญของความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมก็เริ่มจากการที่ทรัพย์สินกระจายไปไม่เท่าเทียมกัน หากได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงเราก็เข้าใจ แต่ถ้าได้ในลักษณะของการสะสมไว้เฉยๆ ในขณะที่คนจำนวนมากยังมีความต้องการ อาทิ คนมีที่ดินมหาศาลทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่า ในขณะที่เราต้องแก้ไขปัญหาเรื่องที่ทำกินให้กับประชาชน ก็ไม่เป็นธรรมกับสังคมโดยรวม"

ฉะนั้น เป้าหมายของกฎหมายที่ท่านนายกฯ อยากผลักดันในครั้งนี้ ก็คือแก้ปัญหาการถือครองที่ดินโดยไม่ใช้ประโยชน์ ซึ่งมีสัดส่วนสูงมากในประเทศไทยขณะนี้ และก็สมควรได้รับการแก้ไข

มีการพูดถึงการเก็บภาษีที่ดินในอัตราสูงกับที่ดินประเภทนี้ เพื่อให้คายที่ดินออกมาสู่ตลาด ผลที่พอจะมองเห็นว่าพึงเกิดขึ้นแน่ก็คือ กล้วยแขกจะมีราคาถูกลง เพราะผู้ครอบครองที่ดินย่อมลงกล้วย (อันเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลนัก) เต็มพื้นที่ เพื่อเปลี่ยนประเภทของที่ดินรกร้างกลายเป็นพื้นที่ทางการเกษตร และเสียภาษีในอัตราต่ำ

คนรวยไทยที่ไม่อยากเสี่ยงจะเก็บเงินไว้ที่ไหน ไม่ใช่ทองคำ, ไม่ใช่หุ้น, และแน่นอนไม่ใช่แบงก์, แต่ที่อันปลอดภัยที่สุดและได้ผลตอบแทนคุ้มที่สุด-โดยไม่ต้องเสี่ยง-คือที่ดินเหมือนเดิม

หรืออย่างดีที่สุดก็คือ ค่าเช่าที่ดินจะมีราคาต่ำลง โดยเฉพาะที่ชายขอบของการเกษตรที่เหมาะสำหรับพืชไร่ เพื่อแปรสภาพที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่ถูกใช้ประโยชน์ทางการเกษตร (โดยผู้เช่า) และเสียภาษีในอัตราต่ำ

ดังนั้น จึงไม่มีที่ดินถูกคายมาสู่ตลาด จนทำให้ราคาที่ดินต่ำลงพอที่ผู้มีความต้องการทั่วไปจะเข้าถึงได้

เพียงเพื่อจะบรรลุเป้าหมายแคบๆ เท่าที่ท่านนายกฯ วางไว้นี้ จำเป็นต้องกลับไปทบทวนกฎหมายอื่นๆ อีกหลายตัว เพื่อจะทำให้ที่ดินหมดความเป็นสินค้าเก็งกำไร แม้การเก็งกำไรนั้นกระทำไปด้วยน้ำพักน้ำแรงโดยสุจริตก็ตาม เพราะไม่ว่าจะได้ที่ดินมาอย่างไร ผลโดยรวมแก่ผลิตภาพของเกษตรกรรมไทยย่อมเหมือนกัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกลับไปทบทวนกฎหมายเช่าที่ดิน จะต้องทำให้การเช่าที่ดินไม่ใช่การประกอบการที่มีกำไร (ในระยะสั้นหรือยาว) จะโดยเพิ่มอัตราภาษีเงินได้แก่รายได้ที่มาจากการเช่าที่ดิน หรืออัตราภาษีการโอนที่ดินซึ่งไม่ใช่ที่อยู่อาศัยอันถือครองมานาน หรือ ฯลฯ ก็ตาม

สมดังที่ท่านรัฐมนตรีคลังกล่าวว่า "เรื่องภาษีแทนที่จะแก้ทีละประเภท ก็น่าจะหยิบมาดูทั้งหมด..." แต่ต้องไม่ลืมเป็นอันขาดว่า "ทั้งหมด" นั้นกว้างขวางมากกว่ากฎหมายเกี่ยวกับภาษีเพียงอย่างเดียว

อันที่จริง มิติที่ไม่ค่อยได้ยินรัฐบาลพูดถึง แต่กว้างกว่าความเป็นธรรมเสียอีกก็คือ ที่ดินเป็นทรัพยากรการผลิตที่สำคัญที่สุด อีกทั้งผู้คนสามารถนำทรัพยากรนี้ไปใช้ได้หลายลักษณะ ตามแต่ความสามารถและความถนัดของบุคคล และที่สำคัญกว่านั้นก็คือตามแต่วิถีชีวิตของแต่ละคน ที่ดินจึงเป็นทรัพยากรของชีวิต (เหมือนน้ำ, อากาศ และอาหาร) ฉะนั้น โดยหลักการแล้ว ที่ดินจึงไม่ควรเป็นสินค้าที่อยู่ภายใต้การกำกับของตลาดล้วนๆ เหมือนสินค้าทั่วไป เพราะจะทำให้ผู้คนจำนวนมากเข้าไม่ถึงทรัพยากรของชีวิตส่วนนี้ เราอาจมีสังคมที่ไม่เป็นธรรมได้ในหลายๆ เรื่อง แต่เราไม่ควรกีดกันผู้คนออกไปจากทรัพยากรของชีวิตเป็นอันขาด

ดังนั้น ในบางประเทศจึงรักษาหลักการข้อนี้ไว้ด้วยการกำหนดไม่ให้ถือครองที่ดินเกิน 99 ปี พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือประกาศว่าที่ดินเป็นทรัพยากรของส่วนรวม ห้ามมิให้ใครหวงห้ามไว้ใช้คนเดียวตลอดไป แม้ข้อกำหนดนี้ไม่เป็นผลมากนักในทางปฏิบัติ แต่อย่างน้อยหลักการว่าที่ดินเป็นทรัพยากรกลางก็ยังดำรงอยู่ หากจะปฏิรูปที่ดินเมื่อใด ก็อาจทำได้เพราะสอดคล้องกับหลักการที่ยอมรับกันมายาวนานนั้นแล้ว

แม้ไม่ค่อยได้ยินรัฐบาลพูดถึงมิตินี้ของที่ดิน แต่ที่จริงแล้วมิตินี้ของที่ดินเสียอีกที่ขาดไม่ได้ในการปฏิรูปที่ดิน จะได้ภาษีมาสักเท่าไรก็ไม่สำคัญ, จะลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้มากน้อยเท่าไรก็ไม่สำคัญ เมื่อเทียบกับการเปิดโอกาสที่เป็นไปได้ ให้ทุกคนที่อยากใช้ทรัพยากรที่ดินในการผลิต สามารถเข้าถึงได้

และด้วยเหตุดังนั้น ประเด็นต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ท่านนายกฯควรคิดใคร่ครวญให้ชัดเจนเสียก่อนที่จะใส่ใจกับเทคนิค-รายละเอียด อันเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถทำได้ หากเขารู้เป้าหมายชัดเจน

1/ เราควรนำกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดินกลับมาใช้ใหม่หรือไม่ ส่วนจะจำกัดไว้เท่าไร, ยกเว้นในกรณีอะไร, และขั้นตอนการประกาศใช้ควรเป็นอย่างไร จึงจะไม่เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย เป็นเรื่องเทคนิครายละเอียด กฎหมายจำกัดการถือครอง ตรวจสอบและบังคับใช้ได้ง่าย อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการคายที่ดินได้เร็ว

2/ การยกเว้นภาษีที่ดินและทรัพย์สินแก่ที่ดินบางประเภทนั้น ควรทบทวนให้รอบคอบ เช่น "ทรัพย์สินของรัฐซึ่งใช้ในกิจการของรัฐ" อันหมายถึงที่ตั้งของหน่วยราชการทั้งหลายนั้น ไม่ควรได้รับสิทธิยกเว้นด้วยประการทั้งปวง เพราะถึงเสียภาษีไป ในที่สุดก็เวียนกลับมาสู่รัฐอยู่นั่นเอง (รัฐท้องถิ่นเป็นอย่างน้อย) จึงไม่มีผลเสียแต่อย่างใด กลับจะมีผลดีตรงที่ว่า หน่วยราชการหลายหน่วยในปัจจุบัน สะสมที่ดินไว้เกินใช้งาน (เช่นหน่วยทหาร) หรือใช้งานไม่คุ้มกับมูลค่าของที่ดิน (เช่นมหาวิทยาลัยของรัฐ) ก็สมควรถูกนโยบายนี้กดดันให้คายที่ดินออกมาใช้ในทางสาธารณประโยชน์มากขึ้น

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ควรเสียภาษีที่ดินเช่นเดียวกัน ที่ดินในครอบครองของสำนักงานแห่งนี้ประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนที่ใช้ดำเนินงานในเชิงธุรกิจซึ่งให้ผลตอบแทนคุ้มพอที่จะเสียภาษีที่ดินได้ กับอีกส่วนหนึ่งคือส่วนที่ให้ประชาชนรายได้น้อยเช่า หากจะยกเว้นภาษีหรือเก็บในอัตราต่ำ ก็ควรเป็นที่ดินส่วนนี้

3/ อัตราภาษีนอกจากคิดจากลักษณะการใช้งานแล้ว ควรคำนึงถึงการลงทุนในภาครัฐประกอบด้วย ที่ดินซึ่งได้บริการจากรัฐมาก ก็ควรเสียภาษีมากกว่าที่ดินซึ่งได้รับบริการจากรัฐน้อย หรือแทบไม่ได้เลย

4/ ควรคิดให้รอบคอบว่า การให้เช่าที่ดินเป็นการประกอบการที่รัฐส่งเสริมหรือไม่ เพราะเป็นการประกอบการที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภาพอะไร หากถือหลักว่าที่ดินเป็นทรัพยากรชีวิต การให้เช่าที่ดินเป็นการประกอบการที่รัฐไม่ควรส่งเสริม ต้องหาทางทำให้ผู้ใช้ประโยชน์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินในระยะเวลาอันหนึ่ง

แต่จะดำเนินงานอย่างไรต้องคิดให้รอบคอบ เพราะเกษตรกรผู้ยากไร้ของไทยจำนวนมากในปัจจุบันไม่ได้มีที่ดินของตนเอง (โดยเฉพาะที่ดินในแหล่งผลิตข้าว) แต่ต้องเช่าที่ดินผู้อื่นทำการเกษตร ไม่ว่าจะเก็บภาษีเพิ่มตามข้อ 3 หรือเพิ่มภาษีที่ดินซึ่งเจ้าของไม่ได้ใช้ประโยชน์เอง เจ้าของนาย่อมผลักภาระนั้นมาแก่เกษตรกรผู้เช่าอย่างแน่นอน ค่าเช่าที่ดินย่อมสูงขึ้น และทำให้ภาวะขาดทุนของเกษตรกรทบทวีขึ้นไปอีก

5/ ที่อยู่อาศัย (ไม่ว่าจะมีขนาดเท่าใด) ก็ไม่ควรได้รับการยกเว้นภาษีที่ดิน แต่จะเก็บในอัตราต่ำได้ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงข้อ 3 ประกอบด้วยเสมอ กล่าวคือที่ดินซึ่งได้รับบริการสาธารณะจากรัฐสูง ย่อมต้องเสียในอัตราที่สูงกว่า

6/ ควรกำหนดให้แน่ชัดว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง อปท.เก็บไปนั้น ต้องนำไปใช้ในทางใดเท่านั้น เช่นต้องใช้เพื่อส่งเสริมการศึกษาในท้องถิ่น ห้ามนำไปใช้อย่างอื่นเป็นต้น ส่วนการตีความว่าอะไรรวมเป็น "การศึกษา" ก็ควรทำให้กว้างกว่าโรงเรียนและแบบเรียน

7/ คณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ควรประกอบด้วยหลายภาคส่วนของสังคม ไม่ควรกระจุกอยู่กับข้าราชการเท่านั้น และควรประกอบด้วยกรรมการหลายระดับชั้น

8/ ภาษีที่ดินควรคิดในอัตราก้าวหน้า หมายความว่าบุคคลยิ่งถือที่ดิน (ซึ่งใช้ประโยชน์ในลักษณะใดก็ตาม) ไว้ยิ่งมาก ก็ยิ่งทำให้อัตราภาษีสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

และมีสิ่งอื่นๆ ซึ่งควรคิดให้ดีอีกมาก

ในส่วนภาษีมรดก พบในหลายประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ว่า ไม่ค่อยได้ผลมากนัก เพราะสามารถหลีกเลี่ยงได้ง่ายด้วยการถ่ายโอนก่อนเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจตรงกันด้วยว่า ผลที่กฎหมายภาษีมรดกมุ่งหวังคือ รัฐไม่พึงสนับสนุนให้ใครคาบช้อนเงินช้อนทองออกมาจากท้องแม่ ภายใต้หลักการแห่งความเสมอภาค และผลส่วนนี้แหละที่ภาษีมรดกไม่ประสบความสำเร็จในหลายสังคม

ดังนั้น หากจะมีภาษีมรดก น่าจะใช้ภาษีนี้เพื่อทำให้ที่ดินกระจายตัวได้เร็วจะดีกว่า นั่นก็คือมรดกส่วนที่เป็นที่ดินจะต้องเสียภาษี (ไม่ว่าจากทายาทหรือจากกองมรดก) ให้สูงมากๆ หากเจ้ามรดกจะถ่ายโอนก่อนเสียชีวิต ก็เป็นภาระอันหนึ่งซึ่งไม่สะดวกนัก เพราะทำให้ผู้รับต้องมีภาระทางภาษีเพิ่มขึ้น ส่วนจะแปรที่ดินเป็นทรัพย์สินอื่น ก็ถือว่าช่วยทำให้ที่ดินกระจายออกสู่ตลาด ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีที่ดินอยู่แล้ว

หน้า 6

 

ที่มา :   หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, วันที่ 02 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552