Monday, January 26, 2009

สถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์




โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์



ในวันที่ 25 ธันวาคม 2551 ศาลจังหวัดนราธิวาสได้ลงความเห็นจากการสอบสวนว่า อิหม่ามยาปะ กาเซง อายุ 56 ปี ได้เสียชีวิตจากการถูกทรมานอย่างทารุณในระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม 2551 ที่ค่ายภาคสนามของหน่วยกำลังที่ 39 ในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ร่องรอยการทรมานทุบตีปรากฏอย่างเด่นชัดบนร่างกายของอิหม่าม



ต่อมาอีกประมาณ 2 สัปดาห์ ครม. ของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ลงมติให้ต่ออายุการใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่สี่จังหวัดภาคใต้ต่อไปอีก 3 เดือน ทั้งๆ ที่การให้อำนาจอย่างไม่มีการตรวจสอบแก่เจ้าหน้าที่ใน พ.ร.ก.ฉบับนั้น ทำให้การทรมานผู้ต้องหาซึ่งถูกกองทัพ (หรือกองกำลังผสมทหาร-ตำรวจ) จับกุมเพื่อรีดข่าว หรือบังคับให้สารภาพได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วไปในสามจังหวัดและสามอำเภอของสงขลา


ก่อนจะพูดอะไรอื่นต่อไป เมื่อคำนึงถึงความโดดเดี่ยวในท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ ของท่านผู้พิพากษาแห่งศาลจังหวัดนราธิวาส ผมขอน้อมคารวะท่านอย่างสูง


อันที่จริงในช่วงเวลาที่จะตัดสินใจต่ออายุ พ.ร.ก.ดังกล่าวนี้เอง การละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ตอนล่างของไทยได้กลายลักษณะเป็น "นานาชาติ" ไปแล้ว


องค์กรนิรโทษกรรมสากลได้รายงานการวิจัยในพื้นที่สี่จังหวัดภาคใต้ โดยการสัมภาษณ์บุคคลที่ถูกจับกุมคุมขัง 34 คน โดยมี 13 คนที่ถูกทรมานโดยตรง นอกจากนี้ ยังได้สัมภาษณ์ญาติพี่น้องของเหยื่อ และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งในพื้นที่และในกรุงเทพฯอีกด้วย รายงานวิจัยระบุอย่างชัดเจนว่า การทรมานผู้ถูกจับกุมคุมขังโดยกองทัพกระทำอย่างกว้างขวางทั่วไปในสี่จังหวัดภาคใต้ ทั้งในที่คุมขังซึ่งไม่เป็นทางการ (อันเป็นการคุมขังที่ผิดกฎหมาย) และที่คุมขังซึ่งเป็นทางการ จนกระทั่งองค์กรนิรโทษสากลถือว่ากองทัพไทยใช้การทรมาน "อย่างเป็นระบบ"


"อย่างเป็นระบบ" ในทางกฎหมาย ไม่ได้หมายความว่ามีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรจากระดับบนให้กระทำ หรือผู้บังคับบัญชาระดับบนให้ความเห็นชอบต่อการทรมาน เพราะจากประสบการณ์ขององค์กรพบว่า ในทุกประเทศที่ใช้การทรมาน จะไม่มีกฎเกณฑ์เป็นลายลักษณ์อักษรหรือคำอนุมัติโดยทางการเลย ตรงกันข้ามกลับมีแต่คำสั่งห้ามปรามและถือเป็นโทษทั้งสิ้น แต่ในทางปฏิบัติก็ทำกันทั่วไป ฉะนั้น การใช้การทรมาน "อย่างเป็นระบบ" ตามนิยามของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (ซึ่งไทยไม่ยอมร่วมเป็นภาคี และไม่มีกฎหมายไทยที่ถือว่าการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นโทษโดยตรง) จึงมีความหมายว่า ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในพื้นที่กว้างขวาง และดำรงอยู่ได้เพราะกฎหมายหรือนโยบายของรัฐเอื้ออำนวย หรือถึงไม่เอื้ออำนวยก็ไม่มีกลไกระแวดระวัง


ตรงกับกรณีของ พ.ร.ก.บริหารราชการฯ ของไทย ซึ่ง ครม.ของคุณอภิสิทธิ์ต่ออายุการใช้ให้ และตรงกับแบบปฏิบัติของกองทัพและรัฐบาลไทยพอดี


ท่าทีของ ครม.อภิสิทธิ์เป็นอย่างไรต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเช่นนี้ ผมคิดว่าคำตอบอย่างเป็นธรรมก็คือ "ประนีประนอม" หมายความว่าไม่อยากให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออย่างน้อยก็ไม่อยากให้เป็นข่าวว่ารัฐบาลนิ่งดูดาย แต่ก็ไม่มีความกล้าหาญพอจะสอบสวนลงโทษอย่างจริงจังเพื่อส่งสัญญาณให้กองทัพรู้ว่า รัฐบาลจะไม่นิ่งเฉยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นนี้


ในทางการเมือง นับเป็นท่าทีที่ผิวหนังไม่ถลอก ทหารรับได้และผู้เลือกตั้งพอรับได้ จึงเป็นท่าทีอันชาญฉลาด (clever) ซึ่งไม่มีใครทำได้นอกจากพรรคประชาธิปัตย์


คุณอภิสิทธิ์ได้ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรี ประกอบด้วยรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งด้านความมั่นคงและการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาของภาคใต้ตอนล่างโดยเฉพาะขึ้น เพราะท่านนายกฯเชื่อว่าต้องสร้างเอกภาพในการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา ไม่พึ่งเฉพาะกองทัพหรือการปราบปรามเป็นหลักเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป


ในวันที่ 17 ม.ค. 2552 คุณอภิสิทธิ์ได้นำคณะกรรมการรัฐมนตรีดังกล่าวลงพื้นที่ เพื่อให้มีความคุ้นเคยกับปัญหามากขึ้น พร้อมกันไปกับการให้นโยบายแก่หน่วยงาน


สิ่งที่คุณอภิสิทธิ์เน้นย้ำก็คือ เอกภาพในการดำเนินงาน ซึ่งเท่ากับปรับเปลี่ยนนโยบาย คือจะประสานการพัฒนาในทุกด้านไปกับมาตรการทางทหาร แต่จะพัฒนาอะไรยังไม่ชัดเจนนัก คุณอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเพียงว่า "นโยบายรัฐบาลมีทั้งโครงการขนาดใหญ่และนโยบายที่จะลงไปในชุมชน... ส่วนโครงการขนาดใหญ่ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ที่มีทั้งภาคอุตสาหกรรมและอื่นๆ เราจะใช้วัฒนธรรมและความหลากหลายมาพัฒนาเศรษฐกิจ"


การพัฒนากับมาตรการทางทหารอาจประสานไปกันได้ก็จริง แต่การพัฒนาก็สามารถประสานไปกันได้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางด้วย ข้อนี้มีประจักษ์พยานทั่วไปทั้งประเทศ รวมทั้งในพื้นที่สี่จังหวัดด้วย นโยบายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้เตรียมการไว้สำหรับผลกระทบด้านนี้อย่างไร ไม่ชัดแจ้ง


ในส่วนการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงที่เป็นข่าวไปทั่วโลกแล้วนั้น คำพูดของคุณอภิสิทธิ์ดูเหมือนจะส่อว่า รัฐบาลวิตกว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว จะกลายเป็น "เงื่อนไขในการที่ฝ่ายตรงข้ามจะนำไปอ้าง" มาก คุณอภิสิทธิ์ยืนยันว่าไม่ได้เป็นนโยบายของรัฐ และกำชับมิให้หน่วยงานในพื้นที่ปฏิบัติงานโดยละเมิดสิทธิมนุษยชน


เป็นอันว่ารัฐบาลไม่เกี่ยว แม้จะมีข้อวินิจฉัยว่าการละเมิดกระทำกัน "อย่างเป็นระบบ" ก็ตาม คุณอภิสิทธิ์เพียงแต่พยายามแสดงให้เห็นว่า ตัวคุณอภิสิทธิ์เองไม่ได้นิ่งนอนใจต่อกรณีที่เกิดขึ้นนี้ "ผมติดตามเรื่องนี้ ไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งผมได้ส่งคนไปคุยกับองค์กรดังกล่าวแล้ว เวลานี้ก็ได้รายชื่อบุคคลที่จะพบแล้ว ตั้งใจว่าจะพบเร็วๆ นี้"


องค์กรนิรโทษกรรมสากลกล่าวอย่างชัดแจ้งในรายงานการวิจัยว่า พยายามปิดบังพยาน นอกจากไม่บอกชื่อแล้ว ยังไม่บอกชื่อตำบลหมู่บ้านหรือแม้แต่ค่ายทหารที่ถูกนำไปทรมานด้วย เพราะไม่แน่ใจในความปลอดภัยของคนเหล่านั้น โดยไม่ได้มีท่าทีแข็งขันเอาจริงเอาจังกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่นไม่ได้ตั้งกรรมการที่มีอำนาจขึ้นสอบสวนกองทัพ และพร้อมจะลงโทษทหาร (และตำรวจ) ที่ทำผิด องค์กรนิรโทษกรรมสากลจะวางใจในความปลอดภัยของเหยื่อเหล่านี้ได้ จนยอมเปิดชื่อ เพราะนายกรัฐมนตรีขอคุยด้วยเท่านั้นละหรือ


ในที่สุดคดีนี้ก็จะเงียบหายไปเหมือนคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาหลายครั้งหลายหนแล้ว ในขณะที่รัฐบาลลอยนวล เพราะไม่ได้นิ่งนอนใจ ผู้บัญชาการกองทัพและตำรวจลอยนวล เพราะไม่ได้สั่งให้ใครไปทรมานใคร และผู้ลงมือทรมานก็ลอยนวล เพราะไม่มีใครอยากสาวไปถึงต้นตอ


ที่สำคัญ ผู้ปฏิบัติงานในภาคใต้ได้รับสัญญาณผิดๆ (หรือไม่ผิด?) ว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ใช่ปัญหา แต่ต้องทำอย่างที่จะลอยนวลได้ทุกฝ่ายต่างหาก เราจะสามารถยุติหรือบรรเทาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ลงได้ด้วยวิธีการเช่นนี้หรือ


ในส่วนช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ซึ่งองค์กรนิรโทษกรรมสากลชี้ไว้ เช่นอำนาจที่ไร้การตรวจสอบ ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ซึ่ง พ.ร.ก.ปฏิบัติราชการฯให้ไว้ คุณอภิสิทธิ์กล่าวแต่ว่า "ตรงไหนอาจจะต้องที่มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป" และการต่ออายุการใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้ในพื้นที่ครั้งหน้า จะต้องให้รายละเอียดความจำเป็นให้ชัดเจนกว่าที่ผ่านๆ มา


ดูจากปฏิกิริยาคุณอภิสิทธิ์และรัฐบาลของท่าน การละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องร้ายแรงในตัวมันเอง เพียงแต่ว่าอาจมีผลกระทบทางการเมืองทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเท่านั้น ปัญหาจึงอยู่ที่จะทำให้ผลกระทบนั้นหมดไป หรือเกิดขึ้นแต่น้อยได้อย่างไร และหากจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกข้างหน้า ก็ต้องทำด้วยความระมัดระวังต่อผลกระทบ


เมื่อรัฐบาลไม่สู้จะสนใจนัก ถามว่าสังคมไทยสนใจต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากน้อยเพียงไร คำตอบอยู่ที่เหตุการณ์ซึ่งเกิดในช่วงเวลาใกล้ๆ กันนี้ มีรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ของอินเดียว่า ชาวโรฮิงญาหลบภัยจากพม่าโดยลอยเรือเข้ามาสู่ชายฝั่งตะวันตกของประเทศไทย หนังสือพิมพ์อินเดียรายงานข่าวว่า กองทัพเรือไทยสกัดไว้ได้ และผลักดันชาวโรฮิงญาเหล่านี้ออกไป โดยหลังเลี้ยงอาหารแล้ว ก็ให้เสบียงและน้ำไปแต่เพียงเล็กน้อย แล้วลากเรือของพวกเขาออกไปสู่ทะเลหลวง กว่ากองทัพเรืออินเดียจะพบเรือของพวกเขา เกือบครึ่งหนึ่งของชาวโรฮิงญาก็เสียชีวิตแล้ว บ้างก็กระโดดทะเลเพื่อไปตายเอาดาบหน้า


ไม่ว่ารายงานข่าวนี้จะจริงหรือไม่ก็ตาม แต่จำนวนไม่น้อยของจดหมายประชาชนที่มีไปยังรัฐบาลก็คือ กองทัพเรือทำถูกต้องตามหน้าที่แล้ว เพราะประเทศไทยไม่ต้องการรับภาระการอพยพหนีภัยของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน


โดยสรุปก็คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องร้ายแรงในตัวมันเอง ทั้งแก่รัฐบาลไทยและสังคมไทย


ฉะนั้น ความหวังจึงต้องฝากไว้แก่นักสิทธิมนุษยชนไทยทั้งหลาย ทั้งที่รวมตัวเป็นองค์กรและเป็นเอกชนอิสระ คราวนี้การละเมิดกระทำโดย "รัฐ" ไม่ใช่โดยองค์กรเอกชนซึ่งท่านเหล่านี้เคยอ้างว่ามีอันตรายน้อยกว่ารัฐ จึงไม่สนใจพูดถึง (ในเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. 2551) ท่านสามารถยุติหรือขัดขวางการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ ซึ่งกระทำโดยรัฐภายใต้พรรคการเมืองที่ท่านยอมรับมากกว่าได้หรือไม่?



หน้า 6

 

ที่มา :  มติชนรายวัน,วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

Sunday, January 4, 2009

The international media and the missing parts of the puzzle




By Chang Noi


Published on January 5, 2009

 

LITTLE MORE than two decades ago, Thailand attracted relatively little interest in the outside world. Its economy was still largely agricultural. Its financial system was closed. Tourism was limited to adventurous types prepared to hire fishing boats to get to pristine islands now buried under concrete. Bangkok had few foreign residents other than employees of international agencies. Beyond the capital there were only a few left stranded after the Vietnam war. Academic interest was confined to a specialised coterie, mainly anthropologists studying picturesque backwardness among the northern hill-tribes or in deepest Isaan. Thai restaurants were rare even in Bangkok let alone the outside world.

Fast-forward to the present and the change is overwhelming. The economy has been inserted into the world spanning production chains of multinationals. The baht and the stock index bounce around on flows of international finance. A million people pass through the immigration checkpoints every month. Thai restaurants are a fixture on every high street.

Many, many people have an interest in understanding what is happening in Thailand for the simple reason that they have something at stake. The world's automobile giants have huge investments accumulated over 20 years. Managers of international financial funds hold Thai currency, stocks, and bonds. Manufacturers of millions of products depend on a Thai-based supplier for some part or component. The size of the resident international community has ballooned as the growth and internationalisation of the local economy has sucked in everyone from English teachers to Korean restaurateurs. Rural Thailand is dotted with colonies of European retirees. Thousands of families hope a vacation in Thailand will be a highpoint of their year.

With more people in the world having more at stake in Thailand, there has been a growing demand to understand the country and how it works. International financial firms analyse the economy for the clients on a daily or weekly basis. Risk analysts publish regular reports. Thai academics can earn extra pocket money by acting as speakers and consultants. A few blogs act as forums for debate and comment. In this knowledge industry, the foreign media play a major role because of the immediacy of their response to events.

Go back two decades again, and the interest of major international media in Thailand was almost zero. The Far Eastern Economic Review catered to a slim and specialised audience, but stories on Thailand in the international press were very rare, and on BBC or other major broadcasters were virtually unknown. Journalists resident in Bangkok were mostly focused on neighbouring countries such as Burma and Cambodia. If anything big happened in Thailand, journalists flew in and struggled to understand what was going on. During the political crisis of 1992, many journalists who had last been in Thailand at the close of the Vietnam War hopped off the planes and tried to understand what was happening in a framework that was now 20 years out of date. Today is very, very different. During the peaks of last year's rolling crisis, Thailand was often the lead story on BBC, CNN, al-Jazeera, and NHK. The Chinese news agency, Xinhua, named the Thai turmoil among its top 10 international stories of the year. International papers like the International Herald Tribune , Wall Street Journal, and Financial Times regularly run a Thailand story several times a week. Several daily newspapers from Australia, Japan and Europe maintain permanent correspondents in Bangkok. In contrast to the fly-in/fly-out mob, many of these international correspondents stay for a long time, become proficient in the language, and get dug into the culture.

The job of everybody in this knowledge industry is to give a full picture. The audience for the specialised reports, the blogs, and the international media demand to know what is really going on because they have a lot at stake. In the past three years, and especially in the past three months, that has been very, very obvious. Investors have seen their capital devalued. Manufacturers have had worldwide production systems disrupted. Families have lost their holidays. The demand to know and understand how the country really works has increased. But this creates difficulty because of those parts of the picture that are blocked out.

The local media practice self-censorship because it would be dangerous not to. But in private space, Thais compensate for the gaps in public knowledge by exchanging opinions, relaying gossip, comparing interpretations. This network of information-sharing is very dense. Of course, it is difficult to judge the validity of much of what is exchanged. But this informal information network helps people to fill in the blanks and allow them to feel that they understand the full picture.

Those consuming the international media do not have access to a similar network. Hence the gaps in their picture are glaringly obvious. People find it difficult to accept that an institution that figures so prominently in the nation's Constitution, in the daily word-of-mouth exchange of information, and in the visual drama of street protest is not part of the political landscape. International correspondents try to compensate because their audience demands it.

Over the past year alone, the nature of political debate within Thailand has changed utterly. More sections of society are involved in the debate. Things once unsaid are now said. In public forums, speakers have evolved codes, metaphors, and gestures, which their audience can understand. On radio, presenters have quietly transgressed old taboos. In semi-private spaces like the interior of a taxi, exchanges have become more forthright.

Those restating old truths about Thai politics are perhaps trying to reassure themselves that nothing has really changed. But it has. The knowledge industry, both inside and outside the country, will continue trying to fill in the missing parts of the puzzle because there is such a large audience that has so much at stake and a desire to understand what is really going on.

 

http://nationmultimedia.com/2009/01/05/opinion/opinion_30092413.php