Saturday, July 25, 2009

ทางออกจากทักษิณ



วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11454 มติชนรายวัน


ทางออกจากทักษิณ


โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์


คำขวัญของกลุ่มเสื้อแดงคือ "ล้มอำมาตย์" เพราะศัตรูสำคัญในทรรศนะของแกนนำเสื้อแดงคืออำมาตยาธิปไตย

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าคำนี้แปลว่าอะไร หากหมายถึงระบบการเมืองที่จำกัดเวทีเล่นกันเฉพาะในระบบราชการ ผมคิดว่าระบบราชการในเมืองไทยอ่อนพลังลงไปมาก จนมีความหมายทางการเมืองไม่สู้จะมากนัก

แม้แต่เมื่อเกิดรัฐประหารโดยฝ่ายที่ถูกเรียกว่า "อำมาตย์" แล้ว กลับพูดกันว่าระบบราชการ "เกียร์ว่าง" แสดงว่าหากระบบราชการยังมีพลังทางการเมืองจริง กลับเป็นพลังที่สนับสนุนระบอบที่ฝ่ายเสื้อแดงเรียกว่า "ประชาธิปไตย" ด้วยซ้ำ แต่ผมเชื่อว่าระบบราชการไม่ได้ "เกียร์ว่าง" เพื่อต่อต้านคณะรัฐประหาร หากราชการไม่รู้จะทำอะไรเท่าๆ กับรัฐบาลที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้นก็ไม่รู้จะทำอะไรเหมือนกัน

และแม้ในเวลานี้ ฝ่ายที่ต่อต้านกลุ่มเสื้อแดงอย่างออกหน้าที่สุดคือกลุ่มที่อยู่ในวงการเมือง ไม่ใช่ระบบราชการซึ่งได้แต่ประคองตัวให้อยู่รอดจากภัยการเมืองไปวันๆ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม หากแปลอำมาตยาธิปไตยว่า ระบบการเมืองที่เปิดให้เฉพาะผู้เชี่ยวชาญและผู้มีการศึกษา ได้กำกับควบคุมการบริหารบ้านเมือง โดยคนทั่วไปไม่มีส่วนในการกำกับควบคุมเลย ถ้าอย่างนั้นผมก็เห็นว่าทัศนคติแบบอำมาตยาธิปไตยยังมีพลังในสังคมไทย แม้แต่กลุ่มเสื้อแดงเองที่อยากให้คุณทักษิณ ชินวัตร กลับมาเป็นนายกฯใหม่อีกครั้ง ก็อ้างความเชี่ยว?ชาญของคุณทักษิณ โดยไม่พูดอะไรเลยเกี่ยวกับการกำกับควบคุมรัฐบาล อันเป็นปัญหาที่ทำให้มีคนไม่พอใจรัฐบาลทักษิณเป็นอันมาก

ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถูกกล่าวหา (หรือแกนนำบางคนก็แอบอ้างเอาเอง) ว่าเป็นฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ก็หาได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับระบบราชการแต่อย่างใด ทุกวันนี้กำลังเผชิญข้อหาของตำรวจว่าก่อการร้าย แม้เมื่อตอนเริ่มขบวนการใน พ.ศ.2548 ก็เห็นว่าการเมืองที่ไม่ชอบธรรมเข้าไปควบคุมระบบราชการ และทำให้ราชการขาดความเป็นธรรมไปด้วย พธม.จึงโจมตีราชการบางหน่วย และข้าราชการบางคนอย่างถึงพริกถึงขิง

รัฐประหารใน พ.ศ.2549 ซึ่งมี "อำมาตย์" จำนวนหนึ่งเป็นผู้นำและสนับสนุน ก็หาได้มีความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยั่งยืนกับ พธม.ไม่ แตกร้าวกันมาตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ จนถึงทุกวันนี้ บางคนในกลุ่ม พธม.ยังเชื่อว่า การลอบทำร้ายแกนนำบางคนของตนนั้น เป็นการกระทำของ "คนมีสี" ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของอำมาตยาธิปไตยนั่นเอง

คุณกษิต ภิรมย์ ซึ่งลือกันว่าเป็นคนของ พธม.ส่งเข้ามาร่วมรัฐบาล ก็หาใช่ตัวแทนของระบบราชการกระทรวงการต่างประเทศไม่ แม้เคยรับราชการมาตลอดชีวิตราชการที่นั่นก็ตาม โดยเฉพาะหากเปรียบเทียบกับคุณนิตย์ พิบูลสงคราม หรือคุณเตช บุนนาค ทั้งสองเป็น "มืออาชีพ" ที่คนกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่าเป็นตัวแทนของตนมากกว่า

ดูอย่างไรก็มองไม่เห็นว่า พธม.จะเป็นตัวแทนของอำมาตยาธิปไตยไปได้อย่างไร

ความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลืองเสื้อแดง จึงไม่ใช่เพราะฝ่ายหนึ่งเชียร์อำมาตยาธิปไตย แต่อีกฝ่ายหนึ่งอยากล้ม ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันด้วยเรื่องประชาธิปไตยต่างหาก เพราะต่างก็นิยามประชาธิปไตยแตกต่างกัน

ประชาธิปไตยของไทยนั่นแหละที่เป็นตัวปัญหา เพราะสังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว ประชาธิปไตยจึงต้องพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงนี้ให้ได้

ฝ่ายเสื้อเหลืองเห็นว่า ประชาธิปไตยไทยมีแต่การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนทางให้นักการเมืองขี้ฉ้อเข้ามากุมอำนาจรัฐ แล้วก็ทำการทุจริตคิดมิชอบกันไม่รู้จบ ถึงจะสร้างกลไกตรวจสอบอย่างที่รัฐธรรมนูญปี 2540 ทำไว้ ก็ไม่อาจป้องกันได้ เพราะนักการเมืองขี้ฉ้อ กลับแทรกแซงองค์กรอิสระเสียจนไม่อาจทำงานได้อย่างเที่ยงธรรม วิธีแก้คือสร้างหรือเสริมอำนาจนอกระบบ (ประชาธิปไตย) ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศีลธรรม, ตุลาการ, ระบบราชการบางส่วน หรือสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง

ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายเสื้อแดงให้ความสำคัญแก่การเลือกตั้งจนละเลยองค์ประกอบอื่นๆ ของประชาธิปไตยไปเสียหมด ทั้งนี้เพราะฝ่ายเสื้อแดงเชื่อว่าการเลือกตั้งจะทำให้รัฐบาลต้องจัดสรรทรัพยากรให้ตกแก่ประชาชนที่อยู่นอกเขตตัวเมือง และประชาชนระดับล่างมากขึ้น ปัญหาการคอร์รัปชั่นของนักการเมืองเป็นปัญหาระดับรอง เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งรัฐบาลไทยทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐประหารได้ทำสืบเนื่องกันมานาน ฉะนั้นจึงต้องเอาระบอบเลือกตั้งกลับคืนมา โดยรอนอำนาจนอกระบบ (ประชาธิปไตย) ทุกชนิดลงเสีย เพื่อให้กระบวนการทางการเมืองเป็นกระบวนการที่มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว

แม้ว่าผมไม่เห็นด้วยกับทางออกทางการเมืองของทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง แต่ผมไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ปัญหาทางการเมืองที่ทั้งสองฝ่ายมองเห็นนั้นล้วนเป็นปัญหาจริงในการเมืองไทยทั้งสิ้น และด้วยเหตุดังนั้น ทางออกทางการเมืองของไทยจึงต้องตอบปัญหาเหล่านั้นให้ได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการต่อสู้ทางการเมือง ผมคิดว่าทั้งสองฝ่ายลืมยุทธศาสตร์ไปเสียหมด นั่นคือ ลืมไปว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองของตนนั้น มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาการเมืองไทยไปสู่ประชาธิปไตย ซึ่งต้องตอบปัญหาทางการเมืองที่ตัวมองเห็นได้ การต่อสู้ทางการเมืองมักให้ความสำคัญแก่ยุทธวิธีเสียจนยุทธศาสตร์หรือเป้าหมายหลักถูกวางไว้บนโปสเตอร์อย่างไร้ความหมายเสมอ

ยุทธวิธีที่ทั้งสองฝ่ายใช้อย่างได้ผลชื่อ ทักษิณ ชินวัตร พธม.ใช้ทักษิณเพื่อทำให้ผู้ที่ไม่เอาทักษิณหวาดกลัวว่าทักษิณกำลังจะกลับเข้าสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ฝ่าย นปก.ใช้ทักษิณเพื่อปลุกระดมคนเอาทักษิณให้ออกมาช่วยกันสร้างเงื่อนไขที่จะทำให้ทักษิณกลับมาสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง

ผมออกจะสงสัยว่า ทั้งสองฝ่ายรู้อยู่แล้วว่าทักษิณไม่อาจเป็นคำตอบของการเมืองไทยได้แล้ว ทักษิณมีได้แต่พรรค แต่ทักษิณไม่มีพวก ผมหมายถึงคนที่สามารถเป็นแกนนำของแก๊งการเมือง และสามารถตอบสนองเชิงบริหารให้แก่ทักษิณได้ บริษัททักษิณใหญ่ในการเลือกตั้งแน่ แต่เสี่ยงเกินไปที่จะร่วมหุ้นด้วย ชื่อทักษิณเป็นชื่อที่ใช้ได้ดีในเชิงยุทธวิธีเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อยุทธวิธีครอบงำการต่อสู้มานาน ทั้งสองฝ่ายจึงมีผลประโยชน์ปลูกฝังอยู่กับยุทธวิธีเสียจนไม่สามารถขยับออกไปสู่ยุทธศาสตร์ได้ ต่างฝ่ายต่างมีคดีติดตัวกันหลายคดี ต่างฝ่ายต่างมีพันธะทางใจกับ "สาวก" ของตนจำนวนมาก ซึ่งถูกดึงเข้ามาด้วยยุทธวิธีมากกว่ายุทธศาสตร์ ความขัดแย้งจึงถูกจำกัดลงเพียงเรื่องทักษิณ ส่วนเรื่องคอร์รัปชั่น, ฝ่ายบริหารที่ตรวจสอบไม่ได้ และการกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ฯลฯ หรือประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับปัญหาของสังคมไทย กลับถูกทิ้งไว้ตามเดิม โดยไม่มีฝ่ายใดแตะต้อง

รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ไม่สามารถนำประเทศทะลุทะลวงออกไปจากความติดตันทางการเมืองนี้ได้ เพราะแม้แต่ตัวรัฐบาลเองก็เป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งของยุทธวิธีเท่านั้น ซ้ำร้ายเมื่อได้อำนาจแล้วก็พอใจแต่จะเป็นเพียงเครื่องมือทางยุทธวิธีไปเรื่อยๆ เพื่อความอยู่รอดของตนเอง นอกจากรัฐบาลแล้ว ความขัดแย้งที่ติดตันนี้ยังใช้อะไรอื่นๆ ที่มีความสำคัญในสังคมอีกมาก แม้แต่รัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นเครื่องมือทางยุทธวิธี

เรื่องมันน่าเศร้า เพราะส่วนใหญ่ของประชาชนไม่ได้ติดตันอยู่ในความขัดแย้งนี้ แต่ต้องตกเป็นเชลยที่หาทางออกไม่ได้ไปด้วย

แม้กระนั้นประชาชนคนนอกทั้งหลายนี้เท่านั้นที่เป็นความหวัง ว่าสังคมไทยจะหาทางออกจากความขัดแย้งที่ติดตัน เพื่อไปสู่ความขัดแย้งที่อาจนำเราไปสู่ข้อสรุปและประชาธิปไตย โดยเฉพาะนักวิชาการ, กลุ่มประชาสังคม, องค์กรอิสระ, สื่อ, องค์กรผลประโยชน์ใหญ่ๆ เช่น หอการค้า, สภาอุตสาหกรรม ฯลฯ (หากเลิกคิดสั้นๆ แต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเสียที) และกลุ่มความเคลื่อนไหวทางสังคมอีกมาก

ภาระเป็นของคนนอก


หน้า 6

Source : matichon.co.th


Tuesday, July 14, 2009

the new generation loves moso! (moso?)



Its message is clear: the new generation loves moso! (moso?)

By Chang Noi


Published on July 13, 2009

Emblazoned on THE SIDE of the Skytrain snaking through Bangkok is the message: "Mindfulness+Rationality=Immunity." On an ad panel inside, cartoon figures with skin tones ranging from black through blue to green wear T-shirts with slogans like "I've got immunity," or "It's easy", and spout speech bubbles announcing "New-generation people love moso".

On television, the prime minister, looking so shiny with optimism that he almost overcomes his natural reserve, tells us "I believe this will help make the country secure and the people happy in a sustainable way".

On first sight of the "Mindfulness + Rationality = Immunity" train, Chang Noi honestly thought this was something about swine flu - a campaign urging us all to act sensibly and ward off this threatening disease.

But it's not. This is a campaign by the Internal Security Operations Command of the Army. It's one of several such public campaigns that have popped up in recent weeks. It is supported by the billion baht of public money that the government voted for ISOC after the Songkran troubles.

But what is it all about? What is "moso"? A pop group? A brand of candy? A new music channel? Google tells us moso is a type of bamboo, a hotel chain in Vanuatu, a town in Italy and a university in Missouri.

Both the television and Skytrain ads point to a website, www.mosothai.com. The home page on the site does not overcome the bewilderment. The heading is about a "Project for Sustainable Thinking". The multicolour cartoon figures are there again, proclaiming on their T-shirts and speech bubbles how much they love moso.

But there's no hint about who or what moso is. Burrowing down a tab on "Background of the campaign", there is finally an explanation. It translates as follows.

In the first word, "mo" comes from "moderation" which means adequacy - not too much, not too little, just right. "So" comes from "society".

So when "mo" and "so" are joined up, it means a society of moderation where people live their lives just right.

And who are the moso people?

Moso people means the new generation of society who lives its life in this just-right way, upholding the principle of moderation.

Being someone of rationality, having immunity in thinking and living according to the sufficiency economy philosophy of His Majesty the King.

Being moso is not difficult…

First off, we must all understand "moderation" in living.

It's easy. Just do everything just right, know the limits of our own ability, don't overdo anything, know how to use more "rationality", study what is too much or too little, and weigh up the good and bad points with clarity.

And when we have both thinking that is "moderation" added together with enough "rationality", these two will give us "immunity" against the obstructions and manifold problems that confront us. And importantly, we must have knowledge and ethics as well.

It's guaranteed that if we can all apply these three principles, and if we pass this message on for people around to try also, no matter what obstructions or economic problems arrive in what form, just having a heart of sufficiency, knowing how to measure ourselves and solve problems with rationality, and being cautious for the sake of immunity will lead to a society with thinking that is sustainable, and able to overcome various problems in the best way.

But why does the "new generation" love moso so much? The rest of the site gives some clues, but not many. There are puffs of support from pop personalities, including the serial endorser, Ad Carabao, but he spoils it by sporting a massive Jatukam Ramathep amulet, which suggests he is looking elsewhere for his "immunity".

There's another TV spot with pop personalities, shot in moody black-and-white, mouthing the above script; and yet another with a TV presenter and a group of happy peasants standing in a field. On the web-board, many have contributed exactly the same comment: "This is a good campaign".

The Army has long dished out PR on its own importance. After the 2006 coup, it poured men and money into a campaign to influence the hearts and minds of the Thaksinite North and Northeast. This moso campaign represents a new frontier - an attempt to influence society as a whole through public media.

The campaign seems to be aimed primarily at urban youth. The website has the pastel colours, Japanese-style graphics and flashing gizmos that characterise Thai teen web-boards and the like.

The multicolour cartoon ads and the pop endorsements are straining for hipness. The cuteness of the "mo-so" mnemonic and the use of English are probably meant to have trendy appeal.

It's ambitious, but what chance does it have of working?

This is advertising. An ad has to tell people what the product is and why they should want it. To be successful, an ad usually needs to be focused and clear.

Does this campaign have these basic qualities? Is it about sufficiency, or the moderation society, or sustainable thinking? In the minds of the originators, these may be all about the same thing. But for the consumer, this is confusing.

The use of English is like, cool, but it is also a barrier to easy understanding. What exactly is a "moderation society" in English anyway? It's hardly a term in everyday international use.

Is Ad's lifestyle - choppers, cockfighting, concerts that disintegrate into brawls - a guide to moderation?

How many people understand the Thai word used for "immunity", a medical term most people would never use in their lifetime.

Even the word for "rationality" has a slightly academic feel to it. Is this the language of the street? The formula of "Mindfulness + Rationality = Immunity" is also not so easy to compute.

Most of all, does the campaign have a compelling reason for the consumer to buy? To put it simply, what's in it for us? What's in it for the people who have not been acting so moderately lately?

Source : nationmultimedia.com